งานนี้เป็นงานวิจัยของ Teixeira และคณะ (2022) [1] เพื่อดูผลของโปรตีนจากสองแหล่งระหว่างโปรตีนจากผลิตภัณฑ์พืช และโปรตีนจากผลิตภัณฑ์สัตว์เทียบกันนะครับ เป็นแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Supplement) นะครับ

ศึกษาในคนกลุ่มไหน ?
เป็นการศึกษาในนักกีฬาฟุตซอล ระดับกึ่งอาชีพ จำนวน 40 คนนะครับ อายุระหว่าง 18-35 ปี โดยให้แบ่งกลุ่มกันทานโปรตีนเสริมจากพืช 20 คน จากเวย์ 20 คน เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ก็ราวๆ 2 เดือน โดยที่รายละเอียดใน Amino profile ของอาหารเสริมทั้งสองชนิดเนี่ย มีความใกล้เคียงกัน

ดูผลด้านไหนบ้าง ?
จากนั้นเขาจะดูว่ามีความแตกต่างอะไรกันบ้าง โดยวัดผลเรื่องของ รูปร่าง (Anthropometry) สัดส่วนมวลกาย (Body composition) ความแข็งแรง (Strength) พลัง (Power) และ ประสิทธิภาพระบบแอโรบิค (Aerobic performance) แล้วก็พวกค่าที่เกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัย biochemical ต่างๆในร่างกาย มีการเก็บผล 3 ครั้งครั้งแรกก่อนเริ่ม แล้วก็ตอนวีคที่ 4 และ 8

พวกอาหารการกินต่างๆ ในระยะเวลาที่วิจัยก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนะครับ ระหว่างแต่ละกลุ่ม พวกพื้นฐานประสิทธิภาพร่างกายก่อนเริ่มวิจัยก็ไม่ได้แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะมาจากคนละทีมกัน แต่เขาก็บอกว่าการฝึกซ้อมของแต่ละคน ก็มีรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน
ผลที่ได้คือ ?
ผลที่ได้ก็คือ... แม่งโคตรจะไม่ต่างกันเลยครับ ระหว่าง Plant-based protein และ Whey protein ให้ผลต่อการเสริมสร้าง และพัฒนาร่างกายได้ไม่แตกต่างกัน (หรือถ้าไม่ได้ก็คงไม่ต่างกันเช่นกัน ๕๕) ทั้งนี้ก็อย่าลืมนะครับ ถ้ายังจะถกเถียงกันต่อ งานนี้ศึกษาในระยะแค่ 8 สัปดาห์ เผื่อว่ากองเชียร์บางทีมอาจจะไม่พอใจ ที่ผลออกมาแล้วมันใกล้เคียงกัน ก็ยังมีช่องให้พอเล่นอีกหลายเหลี่ยม ๕๕


สรุป
โดยสรุปเนี่ย ถ้าดูแล้ว Amino acids profile มันใกล้เคียงกัน ก็ไม่น่าจะให้ผลที่ต่างกันมากนะครับ ในแง่สารอาหาร ที่เหลือก็แล้วแต่จะชอบแล้ว จริงๆ พ.ศ.นี้แล้ว มันน่าจะเลิกเอามาขิงกันได้แล้วล่ะครับ ว่ากิน Vegan ก็มีกล้ามได้ กินอะไรมันก็มีได้ทั้งนั้นแหละคับ เกิดมาเป็นคนยังไงมึงก็มีกล้าม ถ้าเอาแค่มีกล้ามนะ คนเอะไรไม่มีกล้าม 555 แต่พวกระดับใหญ่จัดๆ เขาไม่ได้ผลจากแค่โปรตีนอยู่แล้ว รู้ๆกันอยู่
เพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรตีนในด้านต่างๆ
สำหรับคนที่ทาน Plant-based , Vegan , มังสวิรัต อะไรต่างๆ จริงๆการทานโปรตีนจากแหล่งอาหารที่เป็นพืชก็สามารถทานให้ได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้นะครับ เพียงแต่มันก็ไม่ได้ง่ายเหมือนทานจากเนื้อสัตว์ อาจจะต้องมีการจับคู่วัตถุดิบ เพื่อให้ได้กรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วนมากขึ้น ในบางกรณีที่ต้องการโปรตีนจำนวนมาก และจริงจัง อย่างเช่นนักกีฬาการทานจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก็มีความจำเป็น [2]
ส่วนการทานโปรตีนจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะได้สารอาหารที่ตรงกับที่ฉลากแจ้งไว้มั้ย อันนี้ก็ต้องไปลุ้นกันดูนะครับ จริงๆมันก็มีคาดเคลื่อนบ้างแหละ ตามประกาศหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าในบ้านเราความคาดเคลื่อนที่เขาอนุญาตก็อยู่ที่ 20% ถ้าซีเรียสกับปริมาณโปรตีนมาก อาจจะทานเผื่อจากที่ฉลากบอกไปหน่อย เพราะว่าโปรตีนที่ได้จริงๆ มักจะน้อยกว่าที่เขาเขียนไว้ แต่คาร์บที่ได้จริงๆ นี่มักจะสวนทางกัน [3]
อ้างอิง
- Teixeira FJ, Matias CN, Faleiro J, Giro R, Pires J, Figueiredo H, Carvalhinho R, Monteiro CP, Reis JF, Valamatos MJ, Teixeira VH and Schoenfeld BJ (2022) A Novel Plant-Based Protein Has Similar Effects Compared to Whey Protein on Body Composition, Strength, Power, and Aerobic Performance in Professional and Semi-Professional Futsal Players. Front. Nutr. 9:934438. doi: https://doi.org/10.3389/fnut.2022.934438
- บัวเพ็ชร, พงศ์พันธ์. (2021, September 20). การทานโปรตีนพืช เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ. Fat Fighting. Retrieved July 25, 2022, from https://www.fatfighting.net/2021-09-20-plant-protein-for-muscle/
- บัวเพ็ชร, พงศ์พันธ์. (2022d, July 16). ถึงว่ากล้ามไม่โต เวย์ไม่ตรงปก นี่มันจกตากันชัดๆ !! Fat Fighting. Retrieved July 25, 2022, from https://www.fatfighting.net/article-2022-07-16-measured-versus-label-declared-macronutrient-and-calorie-content-in-colombian-commercially-available-whey-proteins/