ถึงว่ากล้ามไม่โต เวย์ไม่ตรงปก นี่มันจกตากันชัดๆ !!

เคยสงสัยมั้ยครับ ว่าฉลากโภชนาการอาหารเสริม อ่ะว่าง่ายๆ เวย์โปรตีนที่เราฝากชีวิตไว้นี่แหละ มันมีโปรตีนตรงตามนั้นรึเปล่า ลองมาดูงานวิจัยชิ้นนี้ดูครับ


ถึงว่ากล้ามไม่โต เวย์ไม่ตรงปก นี่มันจกตากันชัดๆ !!

เคยสงสัยกันมั้ยครับ ว่าข้อมูลตามฉลากโภชนาการ ของพวก Commercial product นี่เชื่อถือได้มากน้อยขนาดไหน ? งานนี้เขาก็สงสัยเจ้าเวย์โปรตีนทั้งหลาย เลยลองไปสำรวจตลาดดูสิ ว่ามันเป็นยังไงบ้าง โกหกหรือจกตา ปล. เป็นงานจากชิลี นะครับ ไม่ใช่บ้านเราบอกก่อน

งานนี้เป็นการศึกษาของ Zapata-Muriel และคณะ (2022) [1] เขาก็ศึกษาโดยไปซื้อผลิตภัณฑ์ (sample collection) มาจากร้านอาหารเสริมทั่วไปในบ้านเค้านี่แหละ ได้มา 11 ยี่ห้อ ที่ขายดีที่สุดมา ก็เลือกยี่ห้อที่มีฉลากบอกปริมาณสารอาหาร มีเลขการผลิต ล๊อตสินค้า ครบถ้วนอ่ะนะครับ  แล้วก็เอามาเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องของเค้า จนกว่าจะนำไปส่งแลบที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ใดๆ เพื่อทำการวิเคราะห์

ตรวจสอบยังไง ?

การวิเคราะห์ปริมาณกลุ่มสารต่างๆ ตัวพลังงานรวมเนี่ย คำนวณจาก โปรตีน ไขมัน คาร์บ ส่วนปริมาณคาร์บก็ใช้ defference จากสารอื่นๆ เถ้า ไขมัน ความชื้น ใช้วิธี gravimetric ส่วนโปรตีน ใช้วิธี Kjeldahl ผลทั้งหมดก็มีการได้รับ cert ควบคุมคุณภาพมาตรฐานจาก ICA ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานของเค้า

ผลก็คือ ?

ผลก็คือว่าาา เมื่อดูสารอาหารต่อ 100g นะครับ พลังงานที่อยู่บนฉลากเนี่ย ต่ำกว่าที่วิเคราะห์ได้ ส่วนคาร์บ กับไขมันนี่ไม่ต้องห่วงครับ เขาแถมเพิ่มมาให้จากที่เขียนในฉลาก คาร์บฉลากเฉลี่ยบอก 3.5 วิเคราะห์มาได้ 21.9 ไขมันฉลากบอก 0.9 วิเคราะห์มาได้ 1.8  แล้วด้านโปรตีนปริมาณที่วิเคราะห์ได้จริงๆ ต่ำกว่าฉลากเด้อสู 100g ในฉลากบอกเฉลี่ย 81.4 แต่วิเคราะห์ได้จริง 65.7 กรี๊ดดด  ถังเวย์ในมือสั่นระริกๆๆๆๆ

ปริมาณพลังงานและสารอาหารต่อ 100g

ถ้าดูตามปริมาณสกู๊ป ก็ไม่ได้หนีกัน ผลออกมาครือกันเลยแม่เอ้ย พลังงานฉลากบอกเฉลี่ย 119.8 ที่วิเคราะห์มาได้ 126.4 คาร์บฉลากบอกเฉลี่ย 1.9 วิเคราะห์มาได้ 7.5 ดูพวกนี้แล้วช้ำใจ ไปดูโปรตีนดีกว่า ฉลากบอกเฉลี่ย 27.5 แม่งวิเคราะห์มาได้ 22.6 ลิวซีนกูจะพอกระตุ้น MPS มั้ยเนี่ย !!

ปริมาณพลังงานและสารอาหารต่อ 1 scoop
ถ้าดูกันเฉพาะโปรตีน B คือปริมาณต่อ 1 scoop ของแต่ละยี่ห้อ A และ C คือปริมาณโปรตีนที่แสดง และที่วิเคราะห์ได้

สรุป

สรุปนะครับ จากที่เขาไปสำรวจมา 11 ยี่ห้อ ภาพรวมๆ ก็ออกมาราวๆนี้แหละ ไม่ค่อยตรงปกเท่าไหร่ โดยเฉพาะโปรตีนมักจะเป็นปริมาณเกินจริง (จริงๆมีที่ไว้ใจได้ 2 ยี่ห้อนะ ถ้าดูรายละเอียด) ส่วนคาร์บก็มักจะเป็นปริมาณต่ำกว่าจริง

ในทางปฎิบัติจริงๆ ถ้าเราให้ความสำคัญกับปริมาณโปรตีน เจอข้อมูลแบบนี้ก็ไม่ได้ยากอะไรครับ ทานเพิ่มจากเดิมอีกสักนิด เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนที่ได้ตามเป้า (แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าได้คาร์บและไขมันเพิ่มตามมาด้วยนะ)

โอ้ ไม่นะ นี่ฉันหอบผ้าหอบผ่อนหนีอกไก่มาหวังจะให้แกดูแล ที่ไหนได้ คุณหลอกดาว กระซิกๆ

อย่างไรก็ตาม ถ้าดูตามกฎหมายไม่แน่ใจว่ากฎหมายบ้านเขาเหมือนบ้านเรารึเปล่านะครับ อย่างของบ้านเราอาหารและยา หรือ อย. เนี่ยเขากำหนดไว้ว่า ยอมรับค่าความคลาดเคลื่อนได้ +/- 20% นะครับสำหรับกลุ่ม Macronutrient  [2] ซึ่งถ้าเป็นตามข้อมูลนี้ บางผลิตภัณฑ์ก็ยังไม่ถือว่าผิดกฎกติกาแต่อย่างใด

ก่อนหน้านี้ผมเคยนำเสนอเรื่องข้อมูลฉลากโภชนาการของขนมและอาหารคลีนไว้นะครับ ซึ่งก็บางเจ้าที่ผมได้ข้อมูลมาเนี่ยคลาดเคลื่อนจนน่าสยอง [3] ใครสนใจลองไปอ่านกันดูได้นะครับ ในบทความเรื่อง เราเชื่อถือข้อมูลโภชนาการ ได้มากน้อยแค่ไหน ??

อ้างอิง

  1. Zapata-Muriel, A., Echeverry, P., Van Dusseldorp, T. A., Kurtz, J., & Monsalves-Alvarez, M. (2022). Measured versus label declared macronutrient and calorie content in Colombian commercially available whey proteins. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 19(1), 258–266. https://doi.org/10.1080/15502783.2022.2090828
  2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (n.d.). หลักเกณฑ์การยอมรับความความคลาดเคลื่อนของการแสดงข้อมูลโภชนาการ. Http://Food.Fda.Moph.Go.Th/Rules/dataRules/4-4-8LabelErrRule.Pdf. Retrieved July 16, 2022, from http://food.fda.moph.go.th/Rules/dataRules/4-4-8LabelErrRule.pdf
  3. บัวเพ็ชร, พงศ์พันธ์. (2021a, August 25). เราเชื่อถือข้อมูลโภชนาการ ได้มากน้อยแค่ไหน ?? Fat Fighting. Retrieved July 16, 2022, from https://www.fatfighting.net/2021-08-25-can-we-trust-thy-snack-nutrition-fact/

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK