ออกกำลังกายตอนเช้า ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำว่าตอนเย็น ทำให้เผาผลาญไขมันได้ดีกว่า จริงหรือ ?

ออกกำลังกายตอนเช้าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าตอนเย็นทำให้ลดไขมันได้มากกว่าจริงรึเปล่า ?


ออกกำลังกายตอนเช้า ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำว่าตอนเย็น ทำให้เผาผลาญไขมันได้ดีกว่า จริงหรือ ?

ความเชื่อที่ว่าออกกำลังกาย "ตอนเช้า" ขณะที่ท้องว่างๆ ยังไม่ทานข้าว ร่างกายจะนำไขมันมาใช้ได้ดีกว่า "ตอนเย็น" เพราะว่า.... น้ำตาลในเลือดต่ำ ความเชื่อนี้จริงหรือไม่ ?

Ferckmann, G และคณะ (2007)

ความจริงคือ ?

อันที่จริงแล้ว เมื่อเราทานอาหารเข้าไปสักพัก พอร่างกายย่อยและดูดซึมอาหารเรียบร้อยแล้ว น้ำตาลในเลือดของเราก็จะสูงขึ้นระยะนึงนะครับ ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นก็จะค่อยๆลดระดับลงมาจนเข้าสู่ระดับปกติ ในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงหลังจากทานมื้ออาหาร

ถ้าหากเราทานมื้อเที่ยงตอนร่าวๆ 12.00 น. ถ้าเราออกกำลังกายตอนเย็น สัก 4-6 โมงเย็น ก่อนทานมื้อเย็น ระดับน้ำตาลในเลือดก็ใกล้เคียงกับตอนที่เราตื่นมาในตอนเช้านั้นแหละครับ ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ สังเกตจากกราฟ ในรูปดูได้ง่ายๆ นำมาจากการศึกษาของ Freckmann และคณะ (2007)

ดังนั้นเอาเฉพาะเรื่องของระดับน้ำตาลในเลือดเนี่ย จริงๆแล้วถ้าเราเว้นระยะระหว่างมื้ออาหารสัก 4 ชั่วโมง หลังทานอาหารไปแล้วสัก 3 ชั่วโมงอย่างน้อย ถ้าไปออกกำลังกาย ระดับน้ำตาลในเลือดก็แทบไม่ต่างกับช่วงตื่นมาใหม่ๆสักเท่าไหร่นะครับ ไม่ว่าจะออกก่อนมื้อกลางวัน หรือมื้อเย็น แค่ห่างจากมื้อก่อนหน้ามาสัก 3-4 ชั่วโมงก็ไม่ได้ต่างกัน

ทั้งนี้จริงๆระดับน้ำตาลตรงจุดนั้น คือระดับ "ปกติ" ของร่างกายนะครับ ไม่ใช่ระดับที่ "ต่ำ" ที่ทางวิชาการเรียกว่า Hypoglycemia ถ้าระดับน้ำตาลต่ำนี่ไม่ใช่เรื่องดีแล้วนะครับ

สรุปออกตอนไหนดี ?

เอาละดังนั้นจริงๆจะออกตอนเช้า หรือตอนเย็น ความต่างอาจจะมีแต่ไม่ได้แตกต่างกันมากจนเป็นปัจจัยสำคัญ ถ้าจะดูว่าตอนไหนลดไขมันได้ดีกว่ากัน ยังมีปัจจัยอื่น ที่เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง ในทางปฎิบัติ จะออกเวลาไหน ก็เอาที่เราสะดวกต่อกิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน ทำมันได้จริงจัง สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ก็โอเคแล้วครับ

อ้างอิง


Freckmann, G., Hagenlocher, S., Baumstark, A., Jendrike, N., Gillen, R. C., Rössner, K., & Haug, C. (2007). Continuous glucose profiles in healthy subjects under everyday life conditions and after different meals. Journal of diabetes science and technology, 1(5), 695–703. https://doi.org/10.1177/193229680700100513

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK