ลดความอ้วน กินน้อย ขาดแป้ง ระวังต่อมหมวกไตล้า

การลดน้ำหนักลดความอ้วน ต้องทานลดลง ต้องลดไขมันลดคาร์บในอาหารจริง แต่ก็ต้องระวังอย่าให้มันมากเกินไปจนเสียสมดุลย์


ลดความอ้วน กินน้อย ขาดแป้ง ระวังต่อมหมวกไตล้า

ตื่นมามีคนส่งโพสต์ของเพจหมอท่านนึง เขียนเตือนเกี่ยวกับเรื่องภาวะต่อมหมวกไตล้า บอกว่าเป็นโรคภัยชนิดนึงที่หลายคนในปัจจุบันไม่ได้ระวังและตระหนักถึง ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะครับว่าจริง....

ปัญหาคือ เพจหมอดังกล่าวในโพสต์ก่อนๆหน้านั้น ก็เชียร์เหลือเกิน กับการทานโภชนาการแบบคาร์บต่ำ ลดแป้งตัดน้ำตาล โดยเท่าที่ผมเคยอ่านผ่านตา ไม่ได้มีการบอกให้ระมัดระวังผลกระทบจากโภชนาการรูปแบบนี้ โดยเฉพาะในคนที่ออกกำลังกายด้วย

สาเหตุของต่อมหมวกไตล้า

เรื่องต่อมหมวกไตล้า มันมีมาจากหลายส่วนและส่วนนึงคือเรื่องของ Cortisol ที่สูง หลายคนคิดว่าเกิดจาก ความเครียด เพราะภาษาอังกฤษเขียนว่า Stress Hormone แต่จริงๆ Stress ในร่างกายเกิดขึ้นหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่เครียดจากปัญหาในชีวิตเท่านั้น ยังมีความเครียดที่เกิดขึ้นจากเรื่องอื่นอีก และโภชนาการ สารอาหารก็มีส่วนตรงนั้นด้วยเช่นกัน [1]

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

การทานอาหารได้รับพลังงานไม่เพียงพอ น้อยเกินไป หรือออกกำลังกายมากเกินไป ไม่สมดุลย์กับการรับประทานอาหาร การทานอาหารที่คาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับกิจกรรม พวกนี้ก็ทำให้กลไกการทำงานของระบบฮอร์โมน hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA) axis เสียสมดุลย์ไปได้นะครับ [2] [3] [4]

Photo by Fuu J / Unsplash

แล้วจะลดความอ้วนยังไง ถ้าไม่ตัดคาร์บ ?

ก็ไม่ได้โจมตีว่าอย่าไปทานเลย ไอ้โภชนาการ Low carb อะไรเหล่านั้น ยังไงก็ตาม ถ้าเราจะลดความอ้วน ลดน้ำหนัก การลดพลังงานลงเพื่อให้เกิดการดึงไขมันสะสมส่วนเกินในร่างกายมาใช้ มันคือสิ่งจำเป็น และการลดพลังงานขาเข้าลง ก็จะลดที่คาร์บและไขมัน ที่เราทานเข้าไป ทานให้เหมาะสม ให้เกิดการขาดพลังงานบ้าง ในระดับที่เหมาะสม ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาตัดจนไม่คำนึงถึงผลกระทบในด้านอื่น

แล้วยิ่งไปกว่านั้นจริงๆแล้วโภชนาการสัดส่วนใดก็ลดความอ้วนได้ดีพอๆกันนะครับ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อยู่ที่ว่าเรารู้สึกว่าสัดส่วนการทานสารอาหารแบบไหน เราทานมันได้นานจนเห็นผลมากกว่า เรื่องของพลังงานยังมีบทบาทสำคัญกว่าอยู่ดี [5] [6]

กลไกในร่างกายมีความซับซ้อน สิ่งนึงที่ทำเพื่อหวังผล A อาจจะไปก่อปัญหา B ให้เกิดขึ้นได้ ก็ต้องระวังตรงนี้กันไว้ด้วยนะครับ

อ้างอิง

  1. Karin, O., Raz, M., Tendler, A., Bar, A., Korem Kohanim, Y., Milo, T., & Alon, U. (2020). A new model for the HPA axis explains dysregulation of stress hormones on the timescale of weeks. Molecular systems biology, 16(7), e9510.
    https://doi.org/10.15252/msb.20209510
  2. Yaribeygi, H., Panahi, Y., Sahraei, H., Johnston, T. P., & Sahebkar, A. (2017). The impact of stress on body function: A review. EXCLI journal, 16, 1057–1072.
    https://doi.org/10.17179/excli2017-480
  3. Seimon, R. V., Hostland, N., Silveira, S. L., Gibson, A. A., & Sainsbury, A. (2013). Effects of energy restriction on activity of the hypothalamo-pituitary-adrenal axis in obese humans and rodents: implications for diet-induced changes in body composition. Hormone molecular biology and clinical investigation, 15(2), 71–80.
    https://doi.org/10.1515/hmbci-2013-0038
  4. Stimson, R. H., Johnstone, A. M., Homer, N. Z., Wake, D. J., Morton, N. M., Andrew, R., Lobley, G. E., & Walker, B. R. (2007). Dietary macronutrient content alters cortisol metabolism independently of body weight changes in obese men. The Journal of clinical endocrinology and metabolism, 92(11), 4480–4484.
    https://doi.org/10.1210/jc.2007-0692
  5. Jabbour J, Rihawi Y, Khamis AM, Ghamlouche L, Tabban B, Safadi G, Hammad N, Hadla R, Zeidan M, Andari D, Azar RN, Nasser N and Chakhtoura M (2022) Long Term Weight Loss Diets and Obesity Indices: Results of a Network Meta-Analysis. Front. Nutr. 9:821096. doi: https://doi.org/10.3389/fnut.2022.821096
  6. Naude CE, Brand A, Schoonees A, Nguyen KA, Chaplin M, Volmink J. Low‐carbohydrate versus balanced‐carbohydrate diets for reducing weight and cardiovascular risk. Cochrane Database of Systematic Reviews 2022, Issue 1. Art. No.: CD013334. DOI: https://doi.org/10.1002/14651858.CD013334.pub2. Accessed 18 April 2022.

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK