อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ ว่าถ้าพูดถึงความแข็งแรง การออกกำลังกายเนี่ยช่วยแน่ๆ แต่ว่าการออกกำลังกายจะส่งผลยังไงต่อการเป็นมะเร็งบ้าง ร่างกายแข็งแรงส่งผลดี หรือออกกำลังกายแล้วร่างกายทรุดโทรมเกิดผลเสีย มาดูกันครับ
งานนี้เป็นการศึกษาของ Sheinboim และคณะ (2022) [1] ซึ่งในงานนี้เขาตั้งสมมุติฐานไว้ว่าการออกกำลังกายจะส่งผลดีต่อการพัฒนาหรือก่อตัวของเซลล์มะเร็ง ว่าแต่ทำไมเขาถึงมองว่าการออกกำลังกายจะส่งผลดี เขามองว่าในตอนที่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อเราใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งทำให้กลไกการจัดการน้ำตาลในเลือด อินซูลินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ pathway ของ myokines, hepatokines และ adipokines นั้นทำงานมากขึ้น

ซึ่งพวกนี้ก็จะส่งผลต่อการพัฒนา หรือยับยั้งการเกิดมะเร็งได้ ในงานนี้มีทั้งกาารศึกษาระบบ metobolic ในหนูทดลองและ การศึกษาในคนทั้งผู้ชายและผู้หญิง (มีรายละเอียดในงานชิ้นนี้ทั้งหมด) พบว่าการออกกำลังกาย มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ metabolic แล้วส่งผลต่อสิ่งที่มีผลต่อการการพัฒนาตัวของเซลล์มะเร็งได้
ศึกษายังไง ?
ในงานนี้ ตอนแรกเขาใช้ข้อมูลของชาวอิสราเอลกลุ่มนึง (Cohort study) ซึ่งมีการศึกษาติดตามผลมานานถึง 20 ปี อายุระหว่าง 25-64 ปี จำนวนทั้งสิ้น 2,734 คน ซึ่งในระยะเวลา 20 ปีที่ติดตามผลนั้น มี 243 คนที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง ซึ่งในคนทั้งหมดนี้เขาก็ได้ให้มีการทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการออกกำลังกายไว้ ว่ามีกิจกรรมอะไรยังไงบ้างนะครับ ก็ไม่ได้ถามแค่ออกกำลังกายยังไง มีเรื่องอื่นๆอีก สูบบุหรี่มั้ย ดื่มเหล่ารึเปล่า ฯลฯ เป็นแบบสอบถามมาตรฐานแหละ
ทีนี้พอเขาดูจากประชากรกลุ่มนี้ แล้วเขาก็นำคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ มาเพื่อศึกษานะครับ โดยเขาเลือกมาได้ 14 คนที่สุขภาพดี มีความ Active วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ อายุระหว่าง 25-45 ปี ทั้งชายและหญิง นำมาศึกษา (ในงานนี้มีอธิบายการศึกษาในหนูทดลองด้วย แต่ขอข้ามไปนะครับ) เขาก็เอาทั้ง 14 คนนี้ มาออกกำลังกายในวันเก็บตัวอย่างผลเลือด

วิเคราะห์ข้อมูล Metabolism ต่างๆจากตัวอย่างผลเลือด
จากนั้นนำเอาตัวอย่างเลือดที่เก็บมาเนี่ย ไปดูพลาสมา ดูลำดับ RNA ต่างๆ ในกระบวนการ metabolism ก็ศึกษาโคตรละเอียดนะครับ ที่บอกไว้ข้างบนว่าเขาศึกษาในหนูด้วย เขาก็นำข้อมูลทั้งในคน และในหนู ทั้งหมดมามัดรวมเข้าด้วยกันแล้วอธิบายกลไกที่เกิดขึ้น ตรงนี้บอกตรงๆว่าไม่สามารถอธิบายได้หมด เพราะโคตรละเอียด ๕๕
ศึกษากลไกอีกส่วนจากหนูทดลอง
เขาพบว่าการออกกำลังกายทำให้เกิดการ reprogramming metabolic ของอวัยวะภายใน ทำให้เกิดความต้องการสารอาหารที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้พวกเนื้องอกได้รับสารอาหารที่จำกัดลงด้วยเช่นกัน จากการศึกษา Proteomic และในสัตว์ทดลอง พบว่าการออกกำลังกายส่งผลให้เกิดกระบวนการ catabolic เพิ่มการใช้กลูโคส และกิจกรรมของไมโตคอนเดรีย และ GLUT expression พวกนี้คืออธิบายกลไกของสิ่งที่เกิดขึ้นนะครับ

มารวมกับข้อมูลการเกิดมะเร็งจาก Cohort
ส่วนข้อมูลจาก Cohort study ที่เขานำมาใช้พบว่าการออกกำลังกายที่เคยทำมาก่อนที่จะเริ่มเป็นมะเร็งนั้น สัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของมะเร็งที่น้อยกว่ากลุ่มที่ inactive แต่ก็ไม่ได้ส่งผลมากนะครับ มีเล็กน้อยเท่านั้น (ปัจจัยอื่นคงมีผลที่มากกว่า) ส่วนการทดลองในหนูทดลองพบว่าการออกกำลังกายส่งผลป้องกันมะเร็งได้ดี ในกลุ่มหนูที่ออกกำลังกายมาก่อนที่จะฉีดเซลล์มะเร็งเข้าไป

สรุป
โดยสรุปก็คือการออกกำลังกาย ก็ดูจะส่งผลดีต่อการลดโอกาสที่จะเกิดมะเร็งได้นะครับ แต่ว่าจะต้องออกกำลังกายหนักเท่าไหร่ถึงจะดี ออกหนักมากๆดีรึเปล่า นานแค่ไหน ถึงจะมีผลที่ดีเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ค่อยกระฉับกระเฉง อันนี้ก็ต้องศึกษากันต่อไป
สำหรับเราๆ เอาง่ายๆ ในทางปฎิบัติ ถ้าไม่ออกกำลังกายเลย นั่งๆนอนๆ ทำงานไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ก็ควรหาเวลาออกกำลังกาย ก็จะส่งผลดีกว่าไม่ออกกำลังกายเลย ออกดีกว่าไม่ออกเลย อย่าพึ่งไปคิดมากกว่าออกแบบไหนยังไงดี ทำที่เราชอบ ทำได้สะดวก ทำได้สม่ำเสมอ ก่อนนั่นแหละครับ อย่าพึ่งไปคิดเอาถ้วยเอาเหรียญ อันดับแรกเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้ก่อน
อ้างอิง
- Danna Sheinboim, Shivang Parikh, Paulee Manich, Irit Markus, Sapir Dahan, Roma Parikh, Elisa Stubbs, Gali Cohen, Valentina Zemser-Werner, Rachel E. Bell, Sara Arciniegas Ruiz, Ruth Percik, Ronen Brenner, Stav Leibou, Hananya Vaknine, Gali Arad, Yariv Gerber, Lital Keinan-Boker, Tal Shimony, Lior Bikovski, Nir Goldstein, Keren Constantini, Sapir Labes, Shimonov Mordechai, Hila Doron, Ariel Lonescu, Tamar Ziv, Eran Nizri, Guy Choshen, Hagit Eldar-Finkelman, Yuval Tabach, Aharon Helman, Shamgar Ben-Eliyahu, Neta Erez, Eran Perlson, Tamar Geiger, Danny Ben-Zvi, Mehdi Khaled, Yftach Gepner, Carmit Levy; An Exercise-Induced Metabolic Shield in Distant Organs Blocks Cancer Progression and Metastatic Dissemination. Cancer Res 15 November 2022; 82 (22): 4164–4178. https://doi.org/10.1158/0008-5472.CAN-22-0237