ไม่ชอบเล่นกีฬา ไม่ชอบออกกำลังกาย เต้นเพื่อสุขภาพกันดีกว่า

การออกกำลังกายดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าไม่ชอบเล่นกีฬา ไม่ชอบออกกำลังกายละ มาเต้นกันมั้ย !! เต้นก็ดีต่อสุขภาพเหมือนกันนะ


ไม่ชอบเล่นกีฬา ไม่ชอบออกกำลังกาย เต้นเพื่อสุขภาพกันดีกว่า

ไม่ชอบเล่นกีฬา ไม่ชอบออกกำลังกาย เต้นเพื่อสุขภาพกันดีกว่า

งานนี้เป็นการศึกษาของ Tao และคณะ (2022) [1] เป็นการศึกษาแบบ Systematic Review เพื่อดูผลของการเต้นต่อสุขภาพของเด็กและวัยรุ่นนะครับ ซึ่งก็น่าสนใจว่าการเต้นที่เขานำมาศึกษานั้นก็มีค่อนข้างหลากหลายรูปแบบ ส่วนผลที่ดูในแต่ละงานที่นำมาศึกษาก็มีดูในหลายๆด้าน

Tao และคณะ (2022)

การเต้นในงานที่เขาศึกษา ก็มีทั้งการเต้นแบบ ฮิปฮอป, เต้นแบบอินเดียดั้งเดิม, เต้นแบบอัฟริกัน, เต้นแบบสตรีท, Folk dance, Step dance, Tap dance, บัลเลต์, Jazz dance, Dance และ Yoga, ท่าเต้นที่ออกแบบพิเศษ รวมไปถึง เล่นเกมส์เต้น !! (Exergaming)

ผลที่ได้คือ

ช่วยเพิ่มกิจกรรมทางกาย

จากการศึกษา ก็ไม่ค่อยเหนือความคาดหมายเท่าไหร่ การเต้นนั้นช่วยเพิ่มกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ได้ ในบางงานพบว่า กิจกรรมทางกายระดับกลางถึงสูง (Moderate-to-Vigorous) เพิ่มขึ้นถึง 29% ในบางงานเฉพาะผู้หญิงค่านี้เพิ่มขึ้นถึง 40% นอกจากนั้นยังช่วยให้เด็กมีปฎิสัมพันธ์กับสังคมเพิ่มขึ้นด้วย ในบางครอบครัวเด็กๆ ก็ไปทำกิจกรรมกันกับผู้ปกครอง

พัฒนาสมรรถภาพร่างกาย

สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) ก็ดีขึ้นด้วย พบว่าความล้าในช่วงกลางวันนั้นลดลง และในช่วงกลางคืนก็นอนหลับได้ดีขึ้น เมื่อมีกิจกรรมเต้นร่วมกับกิจกรรมทางกายอื่นๆ เช่นการออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ ก็มีผลบวกในหลายด้าน การศึกษาในไทยก็มีนะครับ มีการศึกษาพบว่าการเต้น Cover เนี่ยก็พัฒนาสมรรถภาพทางกาย เพิ่ม VO2Max ได้ เหมือนกับการทำกิจกรรมเต้นแอโรบิค [2]

This was taken at Immerse, in Orlando, Florida. This crew had a bunch of epic moves and movements and this one was taken just in time.
Photo by Michael Afonso / Unsplash

พัฒนาการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหว (Motor) ดีขึ้น อันนี้ก็ค่อนข้างแน่นอนอยู่ เพราะว่าการเต้นนั้นอาศัยทักษะการเคลื่อนไหว การทรงตัว การควบคุมร่างกาย ต่างๆค่อนข้างมาก ซึ่งการพัฒนาการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ดีขึ้น ก็ส่งผลต่อด้านอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน หรือการออกกำลังกาย การเล่นกีฬาได้ด้วยเช่นกัน

มีงานวิจัยอีกหลายชิ้นนะครับ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การทรงตัว ของไทยเราเองก็มาก ไม่เพียงแต่ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นเท่านั้น ในกล่มผู้สูงอายุ การเต้นลีลาศก็ช่วยให้ทรงตัวได้ดียิ่งขึ้น [3]

เกมส์เต้นก็ส่งผลดี

ในส่วนของเกมส์เต้น ก็ให้ผลที่ดีในแง่ของความสนุก แรงจูงใจ ความท้าทาย ทำให้เด็กๆอยู่กับกิจกรรมได้นานขึ้น ในบางงานก็ใช้การเล่นเกมส์เต้นเพื่อลดน้ำหนัก ลดไขมัน และได้ผลเสียด้วย (คิดว่าหลายๆคนน่าจะเคยผ่านจุดนี้กันมาแล้ว)

ผลต่อการลดน้ำหนัก ลดไขมัน

นอกจากจะลดน้ำหนัก ลดไขมันได้แล้ว ในบางงานก็พบว่าความหนาแน่นมวลกระดูกก็เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่เพราะว่าการเต้นก็เป็นกิจกรรมทางกายแบบนึง

Mental Health
Photo by Total Shape / Unsplash

ในด้านจิตวิทยา

นอกเหนือจากจะส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว ในด้านจิตวิทยา ก็ยังส่งผลดีต่อเรื่องของจิตใจหลายเรื่องด้วย ยกตัวอย่างเช่นภาวะซึมเศร้า ก็มีบางงานพบว่าทำให้ภาวะซึมเศร้าทุเลาลง มีความมั่นใจว่าตัวเองมีความสามารถ (Perceived competence) มากขึ้น การทำงานของสมอง (Executive Function) มีพฤติกรรมเก็บกด (Internalizing Problems) ลดลง

สรุป

ซึ่งเขาก็สรุปไว้ว่า การเต้นในรูปแบบต่างๆนั้น สามารถที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ เชื่อมต่อผู้คนเข้าหากันได้เพิ่มขึ้น ทำให้เรามีความสุขในการทำกิจกรรมร่วมกันได้ โดยที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ สามารถทำที่บ้านก็ได้ ทำคนเดียวก็ได้ ทำเป็นกลุ่มก็ได้ ที่ไหนที่สะดวกก็ทำได้ทั้งนั้น (อันนี้ในบ้านเราจะจริงรึเปล่า ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่) ใช้อุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือไม่มากนัก

จริงๆกิจกรรมสันทนาการรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเต้น การละเล่น ต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้เพิ่มกิจกรรมทางกาย เพื่อให้เกิดผลต่อสุขภาพ ทั้งกายและใจได้นะครับ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นกิจกรรมออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาเพียงอย่างเดียว ลองเลือกกิจกรรมที่เราชอบ และสนุกกับมัน ทำได้ประจำ สม่ำเสมอ ต่อเนื่องและมีการพัฒนาได้ ก็เกิดผลดีในหลายๆด้านได้ครับ

อ้างอิง

  1. Tao D, Gao Y, Cole A, Baker JS, Gu Y, Supriya R, Tong TK, Hu Q and Awan-Scully R (2022) The Physiological and Psychological Benefits of Dance and its Effects on Children and Adolescents: A Systematic Review. Front. Physiol. 13:925958. doi: 10.3389/fphys.2022.925958
  2. วงษ์ป้อม, สุรางค์รัตน์ (2559). การเปรียบเทียบผลของการเต้นโคพเวอร์กับการเต้นแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของวัยรุ่นหญิง (Comparing the Effect of Cover Dance and Aerobic Dance on Physical Fitness Among Teenage Females). วารสารวิจัย มข, 16(3). https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/gskku/article/view/99031
  3. อัจฉริยะชีวิน, ชิระวุฒิ. (2564). ผลการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศที่มีต่อความสมดุล ของร่างกายและความเครียดในผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(2). https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/250574

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK