รูปแบบการเดิน สรีระของนักวิ่ง บอกได้มั้ยว่าจะบาดเจ็บรึเปล่า

เดินเบี้ยว เดินไม่เท่ากัน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการบาดเจ็บในการวิ่งมากกว่าจริงรึเปล่า ?


รูปแบบการเดิน สรีระของนักวิ่ง บอกได้มั้ยว่าจะบาดเจ็บรึเปล่า

เราดูรูปแบบการเดินของนักวิ่ง มาประเมินว่าเดี๋ยวจะต้องเกิดการบาดเจ็บ หรือเดินแบบนี้ไม่มีความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บจากการวิ่ง แต่เดินแบบนี้เดี๋ยวก็บาดเจ็บจากการวิ่งแน่นอน … ได้หรือเปล่า ?

มือใหม่บางท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่า ถ้าเดินแบบนี้ต้องปรับต้องแก้ ไม่งั้นเดี๋ยววิ่งแล้วจะบาดเจ็บ จริงๆแล้วมันเป็นแบบนั้นรึเปล่า ? จากข้อมูลในการศึกษานักวิ่ง  690 คน ทั้งกลุ่มที่วิ่งด้วยใจรักเป็นกิจกรรมสันทนาการ วิ่งเพื่อการออกกำลังกาย และวิ่งเพื่อแข่งขัน [1]

งานวิจัยว่าไงบ้าง ?

ไม่พบว่ามีหลักฐานเพียงพอที่จะบอกได้ว่า  รูปแบบการเดินแบบนั้นแบบนี้จะส่งผล  หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในการวิ่งในอนาคตได้นะครับ  จะมีก็เพียงแต่ความเป็นเทพเทวดาเท่านั้น ที่จะมองแล้วทำนายอนาคตได้

คือปัจจัยที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บในการวิ่งนั้น มันมีหลายอย่างนะครับ และสุดท้ายเลยบางทีแม่งซวย แค่นั้นแหละไม่ได้มีอะไรมากจังหวะจะพลาดมันก็พลาด ทั้งนี้พวกการทำสิ่งต่างๆ เช่นการพยายามปรับ Posture ปรับการเดินการวิ่ง อาจจะส่งผลดีก็ได้ หรืออาจจะไม่ส่งผลอะไรเลยก็ได้ หลักฐานต่างๆ มันไม่ได้ชัดเจนขนาดว่าโป๊ะป๊ะกันร้อยเปอร์เซนต์ ว่าการที่คุณมีลักษณะการเดิน ซ้ายหนักกว่าขวา ขวาก้าวยาวกว่าซ้าย ใดๆ อะไรพวกนี้ จะเป็นข้อบ่งชี้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิดการบาดเจ็บมากน้อยกว่ากัน

Photo by Jane Palash / Unsplash

อีกอย่างนึงร่างกายคนเราก็มีการปรับตัวให้เข้ากับสรีระของแต่ละคน นักวิ่งหลายๆท่านก็ไม่ได้มีทรงของร่างกายที่สมบูรณ์ตามที่เขาว่ากัน ซ้ายขวาไม่เท่ากันก็มีเยอะแยะ แต่ก็ทำผลงานได้ดี มันยังมีปัจจัยอะไรอีกหลายอย่าง ส่วนใครที่มีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นแล้วนั้น อันนั้นก็ต้องหาทางแก้ไข รักษากันไปนะครับ

สรุป

ยังไม่ต้องกังวลนะครับ ว่าสรีระแบบนี้ การเดินแบบนี้ๆจะสะท้อนว่าเราจะบาดเจ็บหรือไม่บาดเจ็บแน่นอน บางทีถ้าไปเจอการฝึกบางอย่างที่บอกว่าสามารถแก้ไข หรือทำให้ดีขึ้นได้ ทำให้ไม่บาดเจ็บ ก็อาจจะต้องชั่งน้ำหนัก ค่าใช้จ่าย เวลาที่ใช้ และอะไรอื่นๆ ว่าเราน่าจะทำมั้ยหรือไม่จำเป็น มันพูดยากว่าได้ผลหรือไม่ได้ผล บางทีเสียเงินเวลาไปกับมันเยอะ ก็ยังบาดเจ็บได้อยู่ดี ฝึกธรรมดาตามตารางการฝึกซ้อม มีการวอร์มอัพ คูลดาวน์ตามปกติ ก็อาจจะได้ผลไม่ได้แตกต่างกัน

อ้างอิง

  1. Adamson, L., Vandamme, L., Prior, T. et al. Running-Related Injury Incidence: Does It Correlate with Kinematic Sub-groups of Runners? A Scoping Review. Sports Med (2024). https://doi.org/10.1007/s40279-023-01984-0

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK