ตารางฝึกเพื่อพัฒนาร่างกายสำหรับนักวิ่งออฟฟิศ

แนวคิดดีๆ จากโค้ชพี่น้อย สำหรับนักวิ่งมือสมัครเล่นหน้าใหม่เพื่อการวางแผนตารางฝึกของตนเองหลังการแข่งขัน เพื่อการพัฒนาตัวเอง


1 min read
ตารางฝึกเพื่อพัฒนาร่างกายสำหรับนักวิ่งออฟฟิศ

นักวิ่งหน้าใหม่จำนวนมาก เมื่อเข้าสู่วงการวิ่งใหม่ๆ จะมีความเป็นอัจฉริยะสูงมาก มีลักษณะการซ้อมวิ่งแบบสบายใจ วิ่งเพื่อวิ่ง ไม่ได้วิ่งเพื่อใคร มีการพัฒนาแบบน่าประทับใจ บางคนสามารถคว้าถ้วยได้แบบไม่ได้ตั้งใจด้วยซ้ำ โดยเฉพาะผู้หญิง

จากจุดนี้แหละคือจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตการวิ่ง เกิดความเป็นตัวตนความเป็นนักวิ่งติดถ้วยขึ้นมาเป็นไฟท์บังคับ ก็จะเริ่มเสาะหาแหล่งเสริมสร้าง หวังพัฒนาสถิติให้ดีกว่าเดิม ซึ่งก็ได้ผล สามารถมีผลงานที่ดีขึ้นในะระยะเวลาอันรวดเร็ว น่าประทับใจ

แต่เป็นที่น่าสังเกตุอย่างคือ ไม่สามารถยืนระยะ อมตะได้ตลอดปี นั่นคือ จะเริ่มหายไปจากแท่นรับรางวัล สถิติคงที่หรือตก สุดท้ายก็จะมักเกิดการบาดเจ็บ และพักยาว ไม่ว่าจะวิ่งแบบกำหนดเวลา หรือแม้แต่สถิติวิ่งที่เท่าเดิม ก็กลับมาไม่ได้ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องกล่าว คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นประโยชน์ต่อสังคมวิ่ง

I needed to get away from all the stress in my life. So I drove 2 hours to Hanging Rock Trail in Danbury, North Carolina. 

For more photos check out @morganinspired_adventure I will post my photography there and share my experiences. I am working on a webpage.
Photo by Morgan Sarkissian / Unsplash

สาเหตุเกิดจากอะไร ?

เท่าที่ประเมิน นักวิ่งจำนวนมากยังแยกแยะไม่ได้ว่า ตารางซ้อมแบบไหนเรียกว่าตารางก่อนการแข่งขัน และตารางซ้อมแบบไหนเรียกว่าตารางเพื่อการพัฒนา และก็ไม่มีใครเขียนบทความยืนยัน แนะนำฟันธงกันอย่างจริงจัง ตารางเพื่อการพัฒนา มีรูปร่างหน้าตาแบบไหนกันแน่!

เมื่อแยกแยะไม่ได้ การฝึกซ้อมก็มักหยิบตารางซ้อมขั้นเทพมาซ้อม วนลูปเหวี่ยงร่างกายซ้ำซากด้วยความเชื่อว่าดี ซึ่งก็ดีแน่ แต่จะทำให้ร่างกายพีคไปเรื่อยๆ จนเกิดโอเวอร์เทรนสะสม ร่างกายนักวิ่งวัยหนุ่มสาว อายุ 18-30 ปี ก็อาจสามารถทนซ้อมกับตารางแบบนี้ อึดทน ยืนระยะได้นานถึง 1-2 ปี ส่วนนักวิ่งวัย 35 อัพ ร่างกายอาจสามารถยืนระยะ 6 เดือนถึงปีครึ่งจากนั้นก็จะเริ่มตันไม่พัฒนา แม้จะพยายามเร่งเสริมด้วยสารพัดเทคนิคแล้วก็ตาม ยิ่งเร่งยิ่งกรอบ ยิ่งอยากได้ยิ่งไม่ได้ จะอยู่ในช่วงนี้ทุกคน

จริงๆแล้ว หลังจากใช้ตารางเพื่อการแข่งขันแล้ว นักวิ่งสามารถกลับมาซ้อมด้วยตัวของตัวเองได้ วิ่งเพื่อการวิ่ง วิ่งให้ตัวเองมีความสุข วิ่งแบบใช้สัญชาติญาณแบบตอนวิ่งเริ่มต้นแล้วรู้สึกดีสังเกตุตัวเอง ดูแลตัวเอง วิ่งไป เหนื่อยก็พัก นี่แหละโค้ชทางธรรมชาติกำกับให้

morning run
Photo by Filip Mroz / Unsplash

ตารางซ้อมของเราเอง

อยากจะแนะนำว่า นักวิ่งสามารถออกแบบตารางซ้อมให้กับตนเองได้ไม่ยาก เป็นการฝึกปฏิภาณไหวพริบการสื่อสารกับร่างกายของเราเอง ยกเว้นเราเป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถการสังเกตุอาการร่างกายเราได้เลย อย่างนี้ก็ต้องพึ่งการแนะนำจากคนไกล้ชิดที่พอมีความรู้เรื่องวิ่งช่วย อย่าไปกลัวว่าวิ่งแล้วจะผิด วิ่งแล้วจะสูญเปล่า ความมั่นใจสำคัญกว่า

ความมั่นใจจะเกิดขึ้น จากปรากฏการหลังการซ้อมแม้แต่เพียงน้อยนิด เช่นความรู้สึกใช่ รู้สึกสดชื่น รู้สึกว่าอยากซ้อมในวันถัดไป อยากๆๆ หลักการออกแบบตารางซ้อมเพื่อการพัฒนาระดับนักวิ่งออฟฟิศไม่มีอะไรเลย

วันหนักสลับวันเบา หรือวันคุณภาพสลับวันเบา พัก 1 วัน วันวิ่งยาว 1 วัน สูตรวิ่งแบบนี้ หาอ่านได้จากของ อ.เบญ อ.กฤตย์ อ.เปา อ.บุญส่ง แม้โครงร่างจะเหมือนโดนตราหน้าว่าไปท่องจำตารางอาจารย์เหล่านี้มาซ้อมวิ่ง แต่ในรายละเอียดเราสามารถปรับให้เหมาะกับเราได้ แค่นี้ก็พ้นข้อครหา การท่องจำตารางมาซ้อมวิ่งได้แล้ว เป็นโค้ชตนเองได้

พูดถึงเรื่องนี้ ผู้เขียนเคยโดนตราหน้ามาก่อน ก็ต้องขอบคุณมากๆ ที่เป็นแรงกระตุ้นทำให้ ต้องค้นคว้า หาข้อเท็จจริง เช่นคำกล่าวว่า ซ้อมอย่างนี้ เสียเวลามาซ้อม สูญเสียพลังฟรี ไม่ได้ประโยชน์อะไร! อย่าท่องจำตารางมาซ้อม !, ไม่อยากเสียเวลา ต้องหาโค้ชหรือครูสอน! ต่างๆเหล่านี้ ทำให้เป็นแรงขับเคลื่อน ในการค้นหาข้อเท็จจริง

จากวันนั้นถึงวันนี้ ค่อนข้างแน่ใจว่า ความรู้เบื้องต้นที่พอมีบ้างจากการค้นพบ สามารถตอบโจทย์คำกล่าวข้างต้นได้หมด แถมยังพอมีรายละเอียดมาก จนสามารถกล้าที่จะบอกต่อสังคมนักวิ่งได้อีกด้วย มีแค่ประการเดียวที่จะหยุดการเผยแพร่ คือจะเก็บกุมความรู้นี้ไว้หยุดแค่ที่ตัวเราหรือสังกัดเท่านั้นหรือไม่ หรือจะกระจายสู่สังคมให้กว้างขวาง โดยไม่ต้องเกรงว่าใครจะเก่งกว่า

คำตอบที่ได้คือ ความรู้ที่เผยแพร่ ยิ่งให้เหมือนยิ่งได้ สิ่งแรกที่ได้คือ การได้ทบทวนความรู้ตอกย้ำทำให้ฐานความรู้แน่นขึ้น ประการต่อไปคือ การได้ฝึกการตอบปัญหาทำให้มีความแม่นยำขึ้น ที่แน่ๆ บางคำถาม กลายเป็นความรู้ต่อเนื่องเสริมความรู้เดิมให้หนักแน่นขึ้น และแม้จะพยายามเขียนบทความที่ดีที่สุดก็ตามแล้ว ก็ไม่สามารถบรรยาย ถ่ายทอดความรู้ได้ครบ 100% เพราะมันเกี่ยวเนื่องอีกหลายปัจจัยองค์ประกอบ

นักวิ่งที่ชอบอ่านสามารถเข้าใจได้ แต่ถ้าไม่ฝึกซ้อมก็ได้แค่เข้าใจ จะไม่ได้ผลสำเร็จจากการเข้าใจนั้นเลย ดังนั้นการเผยแพร่ข้อมูลการวิ่งจึงไม่ใช่เรื่องน่าเก็บกุมทฤษฏีไว้เป็นความลับเฉพาะตัวหรือสังกัด ครับ

Photo by asoggetti / Unsplash

ระวังกับดักตารางซ้อม

สิ่งที่อยากจะกล่าวทิ้งท้าย เห็นนักวิ่งออฟฟิศระดับกำลังพัฒนาหลายๆคน เมื่อได้ซ้อมพื้นฐานได้ดีระดับหนึ่ง ก็มักจะมีค้นหาตารางซ้อมเทพ ด้วยความเชื่อและศรัทธา อาการ ติดกับดักตารางซ้อม มากกว่าการประเมินผลด้วยร่างกายตนเอง แนะนำ ต้องแยกให้ออกว่าตารางเทพที่ใช้ซ้อมนี้ เป็นตารางสร้างความพีค ไม่ใช่ตารางสร้างความเสถียร

ด้วยหลักสัจจะทางธรรมชาติ โลกนี้ไม่มีอะไรเสถียรอมตะ มีแต่ทางสายกลาง รักษาคุณภาพ เพื่อพร้อมที่จะเหวี่ยงขึ้นไปอีกรอบแค่นั้นเอง ดังนั้น การหยิบจับตารางเทพมาซ้อม ต้องมีจุดสิ้นสุดคือการพีคตามระยะเวลา เพื่อจบและหยุดพัก ครับ

ข้อแนะนำข้อสุดท้าย ตารางซ้อมเพื่อการพัฒนาทางการกีฬา ควรมีลักษณะเสริมสร้างสุขภาพ รักษาดุลย์ร่างกาย เกิดความฟิต อุดช่องโหว่ข้อบกพร่องข้อด้อย จากการประเมินผลหลังรายการที่เข้าแข่งขันได้ ขอให้มีความสุขสำเร็จในการวิ่งกันทุกๆคนครับ

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK