กาแฟทำให้เกิดภาวะขาดน้ำรึเปล่า ?

ดื่มกาแฟแล้วทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydrate) รึเปล่า ? วันนี้เอางานวิจัยที่เขาทดสอบอย่างดีมานำเสนอครับ


กาแฟทำให้เกิดภาวะขาดน้ำรึเปล่า ?

มันก็มักจะมีคำกล่าวว่าดื่มกาแฟแล้วทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ Dehydrate นะครับ ซึ่งในกาแฟเนี่ย มันมีคาเฟอีน ที่มามันมาจากการศึกษาเมื่อนานนนมาแล้ว เกือบ 100 ปีก่อนโน่นแหนะ เขาศึกษาผลของคาเฟอีน กับการขับปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ (Diuretic Effect) แล้วพบว่ามันมีผล [1] ซึ่งหมายถึงผลต่อการขับปัสสาวะนะ

จากนั้นก็มีการศึกษาการรับคาเฟอีนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเม็ด ผง เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ในปริมาณต่างๆ ว่ามีผลต่อการขับปัสสาวะหรือไม่ ก็มีผลแตกต่างกันออกไป ดังตารางนี้ครับ

ทีนี้ถ้ามองในแง่ของถ้าดื่มเป็นกาแฟละ มันก็มีสองงานที่ดื่มเป็นกาแฟ งานแรกให้ดื่มกาแฟ 6 แก้ว (ได้คาเฟอีน 524mg) แล้วก็ดูฉี่ เขาพบว่ามันขับฉี่มากขึ้น [2] แต่ถ้าไปดูเงื่อนไขการเลือกคนมาทดลอง เขาใช้คนที่ทานคาเฟอีนประจำ แต่ให้งดคาเฟอีนก่อนทดลอง 5 วัน ตรงนี้มันก็ไม่อาจจะแปลผลได้เหมือนการดื่มกาแฟเป็นประจำทั่วๆไป

อีกงานนึงให้ดื่มเครื่องดื่มสามอย่างในปริมาณเท่าๆกันเทียบกันหลายๆรูปแบบ ก็มีกาแฟ มีคาเฟอีน มีน้ำอัดลม และมีเครื่องดื่มไม่มีคาเฟอีนด้วย แล้วดู hydration marker งานนี้บอกว่า คำแนะนำที่ให้เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่จำเป็น [3] แต่ดั๊นนน งานนี้ไม่มีการดูผลเรื่องน้ำในร่างกาย

ร่ายมาซะยาว มันก็เป็นที่มาของงานที่หยิบมานำเสนอในวันนี้นะครับ งานนี้เป็นการศึกษาของ Killer, Blannin และ Jeukendrup (2014) [4] เขาจะศึกษาการดื่มกาแฟ ที่มันเป็นการดื่มประจำๆ (Habitual) ทั่วๆไปแบบชาวบ้านชาวช่องเขาดื่มกันเนี่ย ว่ามันมีผลอะไรกับไอ้การขาดน้ำ (Dehydrate) รึเปล่า

Killer, Blannin และ Jeukendrup (2014)

ศึกษาในคนกลุ่มไหน ?

เขาก็นำคนมา 52 คน อายุระหว่าง 18-46 ปี สุขภาพดีไม่สูบบุหรี่ คัดมาจากร้อยกว่าคน ทดลองในผู้ชายอย่างเดียวนะ เพราะผู้หญิงเรื่องรอบเดือนจะมีผลต่อน้ำในร่างกาย เขาเลยไม่นำมาทดสอบ คนเหล่านี้ก็เป็นคนที่ดื่มกาแฟ 3-6 แก้ว ได้รับคาเฟอีน 300-600mg ต่อวันเป็นประจำอยู่แล้ว

ศึกษายังไง ?

จากนั้นก็แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ทำการทดลองดื่ม กาแฟดำ 4 แก้ว (200ml) เทียบกับการดื่มน้ำเปล่า ดื่มอย่างละ 3 วัน พักช่วงนึง (Washout) แล้วก็สลับไปดื่มเครื่องดื่มอีกอย่าง พวกอาหารการออกกำลังกายก็มีการบันทึกไว้ประเมินผลด้วย รายละเอียดไปดูกันในงานได้เลย

ผังการทดลอง

ทีนี้ผลที่เขาตรวจ ก็ดูผลเลือด ดูมวลน้ำ (Total body water) และ มวลกาย (Body mass) ซึ่งการดูมวลกายเนี่ยเขาก็ตรวจแบบเปลือยกายเลยนะจ๊ะเอาเป๊ะขนาดนั้น พวกมวลน้ำเขาใช้วิธี Labelled isotope D2O ที่บอกตรงก็คือเขาใช้วิธี Gold standard อยู่นะสำหรับการวัดมวลน้ำ ก็เชื่อถือได้ค่อนข้างมากแหละ นอกจากนั้นก็เก็บตัวอย่างปัสสาวะไปดูค่าอื่นๆด้วย

ผลที่ได้คือ ?

ผลที่ได้เนี่ย เขาพบว่ามันโคตรจะไม่ต่างกันเลยในแง่ของ Hydration properties ต่างๆ ระหว่างการดื่มกาแฟวันละ 4 แถ้ว กับน้ำเปล่า ในระยะเวลา 3 วัน ผลเลือด Blood urea nitrogen หรือ Serum creatinine ซึ่งบอกการทำงานของไต ก็ปกติและไม่ต่างกัน มวลน้ำในร่างกายก็ไม่ได้แตกต่างกัน มีระดับโซเดียมในปัสสาวะที่ตอนดื่มกาแฟสูงกว่าตอนดื่มอยู่หน่อย

มวลน้ำแทบไม่ต่างกันเลยนะครับ
มวลกายแทบไม่ต่างกัน

จุดนึงที่น่าสนใจก็คือในงานนี้ การดื่มน้ำของแต่ละคน ก็ให้ดื่มน้ำตามที่ดื่มๆอยู่ ไม่ได้กำหนดให้ดื่มเท่านั้นเท่านี้ตายตัว ซึ่งเขาก็สรุปไว้ว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วทั่วๆไป หรือคาเฟอีนระดับ 4mg/น้ำหนักตัว เนี่ยไม่ได้ส่งผลที่จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ กินน้อยกว่านี้ก็ไม่น่ามีปัญหา ถ้ากินเยอะกว่านี้ยังบอกไม่ได้ แต่ที่แน่ๆ ถ้าเกินวันละ 5 แก้ว บอกได้อย่างนึง แม่งเปลือง

สรุป

การดื่มกาแฟในระดับทั่วๆไปในชีวิตประจำวันเนี่ย ส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ยากครับ ถ้ามีภาวะขาดน้ำขึ้นมานี่อย่าลืมลองดูเรื่องอื่นด้วย เพราะปัจจัยมันมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การเสียน้ำออกไปจากสาเหตุต่างๆ การดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอ การทำงานของไต หรือลำไส้ ที่ผิดปกติ รวมถึงโรคหรือผลข้างเคียงของยาอื่นๆ [5]

อ้างอิง

  1. Eddy N, Downs A (1928) Tolerance and cross-tolerance in the human subject to the diuretic effect of caffeine, theobromine, and thoephylline. J Pharmacol Exper Ther 33: 167–174.
  2. Neuhäuser-Berthold, Beine, S., Verwied, S. C., & Lührmann, P. M. (1997). Coffee consumption and total body water homeostasis as measured by fluid balance and bioelectrical impedance analysis. Annals of nutrition & metabolism, 41(1), 29–36. https://doi.org/10.1159/000177975
  3. Grandjean, A. C., Reimers, K. J., Bannick, K. E., & Haven, M. C. (2000). The effect of caffeinated, non-caffeinated, caloric and non-caloric beverages on hydration. Journal of the American College of Nutrition, 19(5), 591–600. https://doi.org/10.1080/07315724.2000.10718956
  4. Killer, S. C., Blannin, A. K., & Jeukendrup, A. E. (2014). No evidence of dehydration with moderate daily coffee intake: a counterbalanced cross-over study in a free-living population. PloS one, 9(1), e84154. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0084154
  5. Taylor K, Jones EB. Adult Dehydration. [Updated 2022 May 15]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK555956/

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK