การถือศีลอด ส่งผลยังไงกับ Metabolism น้ำตาลและไขมันบ้าง

การถือศีลอด ก็จัดเป็นรูปแบบนึงของ Intermittent fasting นะครับ งานนี้เขาศึกษาในระดับโปรตีนว่าเมื่อถือศีลเป็นเวลา 30 วันแล้ว ส่งผลอะไรต่อสุขภาพบ้าง ซึ่งก็พบว่ามีผลดีอยู่


การถือศีลอด ส่งผลยังไงกับ Metabolism น้ำตาลและไขมันบ้าง

จริงๆการทำ Intermittent fasting นี่ไม่ได้ใหม่นะครับ ก็อย่างที่ทราบว่ามันมีมาตั้งแต่สมัยนานแล้วในบัญญัติ ทางความเชื่อทางศาสนา ศีลอด หรือ ปอซอ หรือ ศิยาม ก็คือรูปแบบนึงของการหยุดทานอาหารในระยะเวลาที่กำหนดเช่นเดียวกัน

ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาของ Mindikoglu และคณะ (2020) [1] ถึงหัวข้อเขาจะเขียนว่า Intermittent fasting แต่ในงานก็คือการถือศีลอดนั่นแหละ เขาก็ศึกษาเพื่อดูผลของการ Metabolism น้ำตาล (glucose) และลิพิด (lipid) และพวก Proteomic ที่เกี่ยวกับการต้านมะเร็ง หลังจากถือศีลอดได้ 30 วันบ้าง

Mindikoglu และคณะ (2020)

ศึกษาในคนกลุ่มไหน ?

ศึกษาในคนอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นคนที่มีความตั้งใจจะถือศีลในช่วงรอมฎอนอยู่แล้ว BMI ต่ำกว่า 30 สุขภาพดีไม่เจ็บป่วยหรือใช้ยารักษาอาการอะไรอยู่ การ fasting ในแต่ละวัน ก็ให้เริ่มตั้งแต่รุ่งสาง ถ้ากินก็กินก่อนพระอาทิตย์ขึ้น แล้วก็จะกินอีกทีตอนพระอาทิตย์ตก และแน่นอนระหว่างวัน ไม่มีน้ำ ขนม ใดๆ ส่วนพลังงานอาหารไม่ได้จำกัดว่าจะทานเท่าไหร่ แต่เขาก็แนะนำว่าให้ทานใกล้เคียงเดิมที่เคยทาน

รูปแบบการทาน และสิ่งที่ตรวจสอบ

ก็ได้กลุ่มตัวอย่างมา 14 คน อายุเฉลี่ย 32 ปี แล้วก็เจาะเลือดเก็บไปตรวจ Serum ดูค่าต่างๆ  พวก Proteomics มีค่าอะไรบ้างนี่ไปดูกันในงานได้เลยนะครับ  เพราะมันเยอะสาธยายไม่หมด 55 นอกจากนั้นก็มีการเก็บอุจจาระไปดูเรื่องจุลินทรีย์ด้วย ซึ่งไอ้ตรงนี้ก็ละเอียดเข้าไปอีก

ผลที่ได้คือ ?

เขาบอกว่าการทำ IF แบบถือศีล 30 วัน มีผลดีเกี่ยวกับ Metabolic , การอักเสบ , ระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงสิ่งที่อาจจะส่งผลต่อการรักษามะเร็งด้วย (ส่วนแบบละเอียดๆ ว่าอะไรอาจจะไปส่งผลอะไรยังไงเนี่ย ในงานเขากล่าวไว้ยาวเหยียดเลย เช่นได้ผลดีต่อการป้องกันความอ้วน เบาหวาน หรือภาวะ Metabolic syndrome

ขั้นตอนการตรวจสอบ

แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่ามันส่งผลเด๊ะๆนะครับ แค่ว่าอาจจะส่งผลต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ เพราะสิ่งที่เขาศึกษา คือ  serum proteomics เนี่ยมันก็เป็นผลในระดับย่อยๆๆๆ ในร่างกาย อาจจะส่งผลต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้อีกหลายอย่าง

สรุป

โดยสรุปเนี่ย ก็จัดว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่ ทั้งนี้การทานอาหารเนื่องจากเขาไม่ได้ดูเรื่องอาหารที่ทาน เพียงแค่บอกให้ทานเหมือนเดิม และดูจากเกณฑ์ในการคัดคน ว่าเป็นคนสุขภาพดี ไม่อ้วน ก็คิดว่าการทานอาหารของแต่ละคนคงไม่อยู่ในเกณฑ์แย่ เพราะเคยรู้จักกับบางท่านที่ถือศีลแต่ช่วงที่ทานได้ ก็ทานสุดติ่ง อันนั้นต่อให้จำกัดเวลาก็เอาไม่อยู่เหมือนกัน

อ้างอิง

  1. Mindikoglu, A. L., Abdulsada, M. M., Jain, A., Choi, J. M., Jalal, P. K., Devaraj, S., Mezzari, M. P., Petrosino, J. F., Opekun, A. R., & Jung, S. Y. (2020). Intermittent fasting from dawn to sunset for 30 consecutive days is associated with anticancer proteomic signature and upregulates key regulatory proteins of glucose and lipid metabolism, circadian clock, DNA repair, cytoskeleton remodeling, immune system and cognitive function in healthy subjects. Journal of proteomics, 217, 103645. https://doi.org/10.1016/j.jprot.2020.103645

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK