เวลาที่เราพูดถึงการเล่นเวท (Weight Training) เราจะนึกถึงการสร้างกล้ามเนื้อกันใช่มั้ยครับ อันนั้นไม่แปลก เป็นเรื่องปกติ แต่กับกระดูกล่ะ ? การเล่นเวทมีผลอะไรกับกระดูกมั้ย อันนี้มีบางคนคิดและเชื่อกันไปถึงว่า ถ้าเล่นเวทจะทำให้เตี้ยลงด้วยนะ เพราะว่ากระดูกเจอน้ำหนักกดทับ แหม่ คนนะไม่ใช่ดินน้ำมัน พ่อคู๊นนนนน

หน้าที่ของกระดูกในร่างกายเรานี่คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันให้มากความแล้ว ทุกคนก็คงรู้จักและเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่ากระดูกคืออะไร และมีหน้าที่อะไรในร่างกาย เวลาพูดถึงกระดูกมีสิ่งนึงที่จะต้องให้ความสำคัญ นั่นคือ ความหนาแน่น กระดูกที่มีความหนาแน่นมวลกระดูกน้อย ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากขึ้นตามกัน

Photo by Harlie Raethel / Unsplash

โดยปกตินั้นโครงสร้างของกระดูกก็จะมีลักษณะเป็นรูพรุนเล็กๆ อยู่ข้างในนะครับ แต่ถ้ามีรูพรุนมาก ความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บ หรือแตกหักง่าย ก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับด้วยเหมือนกัน หลายคนคงเคยได้ยินได้อ่านจากโฆษณากันมาบ้างแล้ว ว่าสินค้าตัวนั้นตัวนี้ ช่วยเสริมแคลเซียม ช่วยเพิ่มวลกระดูก แต่เอาจริงๆไอ้การจะเสริมสร้างความแข็งแรงให้มวลกระดูกนั้น เพียงแค่เท่าที่กินเข้าไปอาจจะไม่เพียงพอครับ มันต้องมีสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเสริมสร้าง ความแข็งแรงให้มวลกระดูกด้วย และเจ้าสิ่งนั้นก็คือ...

Weight Training ช่วยได้

การเล่นเวทสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกได้นะครับ ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้กับมวลกระดูกเท่านั้นนะครับ แต่ยังช่วยชะลอการสูญเสียมวลกระดูกไปตามวัยของเราได้ด้วย โดยทั่วไปจุดสูงสุดที่ร่างกายเราจะมีความหนาแน่นมวลกระดูกสูงสุด ก็จะอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 30 ปีนี้ครับ แล้วก็อย่างที่ทราบๆกัน ว่าเมื่อเราแก่ขึ้น ร่างกายก็จะสูญเสียมวลกระดูกไปด้วยตามวัย ประมาณปีละ 1% เลยนะครับ ยิ่งในผู้หญิงมวลกระดูกก็จะยิ่งสูญเสียไปมากกว่าผู้ชาย ทั้งจากตามวัย ตามธรรชาติ และภาระของร่างกายจากการตั้งครรภ์ ซึ่งการออกกำลังกายแบบ Weight Training หรือการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ก็จะช่วยในส่วนนี้ได้

Photo by Sven Mieke / Unsplash

เป็นไปได้ยังไง ?

เหมือนกับกล้ามเนื้อนั่นแหละครับ เวลาที่เราออกแรงต้านกับกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเราก็จะออกแรงต้านกลับมา และจุดนี้ก็จะทำให้กล้ามเนื้อของเราใหญ่โตขึ้น กระดูกก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะกระดูกอย่างเดียวนะครับ พวกข้อต่อต่างๆ ก็ได้รับประโยชน์เหล่านี้จากการเล่นเวทด้วยเหมือนกัน

อ้างอิง