วิ่งโซน 2 อย่างไร องค์ประกอบ 3 อย่าง หัวใจ, รอบขา, ท่าวิ่ง + ปัจจัยต่างๆ สภาพพื้นผิว, สภาพภูมิประเทศ, อุณภูมิ, น้ำดื่ม, ฯลฯ

  1. ต้องคุมหัวใจให้อยู่ในโซน ext. z 2-2.9 หรือ int. z 2.5-3.5  
  2. รอบขา นักวิ่งเพื่อสุขภาพรอบขาตามถนัดนักวิ่งเพื่อการพัฒนา เป้าหมายรอบขาที่ 170-180 ก้าวต่อนาที
  3. ท่าวิ่ง ท่าวิ่งหนักหัวใจพุ่ง ท่าวิ่งเบาหัวใจต่ำจะวิ่งหนักหรือวิ่งเบา ให้นึกถึงเกียร์เครื่องจักร หรือ จักรยานเกียร์หนัก รอบจะช้า วงเหวี่ยงจะกว้าง ทำให้เคลื่อนที่เร็ว ออกตัวช้าเกียร์เบา รอบจะจัดเร็วหรือถี่ วงเหวี่ยงจะแคบ เคลื่อนที่ช้า ออกตัวได้เร็วให้สังเกตุ ขับรถขึ้นเขาเราใช้เกียร์ต่ำ รอบจะจัด เสียงเครื่องยนต์กระหื่ม เคลื่อนที่ช้า
Photo by sporlab / Unsplash

สองขาคนเรา ก็มีเกียร์ ก้าวสั้นรอบก็สูง ก้าวยาวกินระยะรอบขาก็ช้า "การคลื่นที่ด้วยรอบ ไม่ได้ไปด้วยแรง" จึงเป็นสโลแกนของนักวิ่งโซน 2 รอบขาเกี่ยวข้อง หัวใจพุ่ง ใช้พลังงานไขมันในการเคลื่อนที่ ใช้กล้ามเนื้อน้อยกล้ามเนื้อเกี่ยวข้อง หัวใจพุ่ง ใช้พลังงานคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาม จะเห็นว่า สิ่งที่เหมือนกัน ระหว่างการเคลื่อนที่ด้วย รอบขาและกล้ามเนื้อคือหัวใจพุ่ง แต่สิ่งที่ต่างกันคือ การใช้พลังงาน

การวิ่งโซน 2 จะเน้นการควบคุมการใช้พลัง คือ พลังงานไขมันไขมันเป็นพลังงานที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในร่างกายเพราะร่างกายสะสมไว้ส่วนคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล ร่างกายไม่นิยมสะสม สุดท้ายถ้ามีเหลือก็มักถูกแปลงเป็นไขมัน

ดังนั้นประโยชน์เบื้องต้นของโซนสองที่ได้คือ ระบบเอนดูแรนซ์พื้นฐานนั่นคือ การที่ร่างกายเลือกใช้ไขมันเป็นพลังงานซึ่งมีเหลือเฟือในการขับเคลื่อนเป็นระบบแอโรบิค การเผาผลาญพลังงานแบบใช้ออกซิเจนกรณีศึกษาน่าสังเกตุคือ ทำไมนักวิ่งติดถ้วยบางคน ไม่สามารถกดหัวใจโซน 2 ได้

Photo by Steven Lelham / Unsplash

นั่นหมายถึงระบบแอโรบิคของนักวิ่งคนนั้นล่ม ไม่เข้าที่เข้าทางเนื่องจากร่างกายถนัดใช้งานแต่ระบบอะแนโรบิค ไม่ใช้ออกซิเจน ผลมาจากการมุ่งจะฝึกซ้อมพัฒนาร่างกายแต่ในระบบนี้ จึงชินและชำนาญการฝึกซ้อมจะถึงทางตันเร็วคือไม่สามารถทะลุเพดานการฝึกขึ้นไปอีกได้ต้องกลับมา ปูฐานร่างกายด้านแอโรบิคใหม่อีกรอบ จึงจะมีร่างกายที่พร้อมจะกลับไปซ้อมกับโปรแกรมชั้นสูงให้ทะลุต่อไปได้ขอส่งท้ายไว้เท่านี้ก่อนหวังว่า คงจะเป็นไกด์ไลน์ให้วิ่งโซน 2 กันให้เห็นภาพได้ระดับหนึ่งครับ

อ่านต่อ วิ่งโซน 2 เริ่มอย่างไร ตอนที่ 2 กันได้เลยครับ