วิ่งโซน 2 ไม่ใช่ลัทธิ

วิ่งโซน 2 คืออะไร พูดถึงกันบ่อยๆ มันเป็นลัทธิใหม่รึเปล่า ทำไมมันดูเหมือนศักดิ์สิทธิ์ครอบจักรวาลจัง 555


1 min read
วิ่งโซน 2 ไม่ใช่ลัทธิ

กล่าวย้ำ อีกรอบ แนวคิดการฝึกซ้อมการวิ่งโซน 2 ก็เพื่อ ....เน้นพัฒนานักวิ่งออฟฟิศในระดับพื้นฐานให้มีร่างกายพร้อมขึ้นไปรับโปรแกรมกับโค้ชผู้ฝึกสอนระดับสูงมิได้หวังให้เป็นลัทธิโซน  2 เป็นการใช้พื้นที่โชเชี่ยลสร้างกระแสเน้นความปลอดภัยทางร่างกายของนักวิ่ง โดยระบบคือ การเลือกใช้อุปกรณ์ HR เครื่องวัดหัวใจมาเป็นตัวซ้อมวิ่ง แต่ละคนจะมีค่าความหนักของโซนหัวใจประจำตัว ดังนั้นการฝึกซ้อม นักวิ่งเองก็จะฝึกซ้อมตามความหนักนั้นๆ ผลที่ได้ คือไม่เกิดการโอเวอร์โหลดของความหนัก ทำให้ไม่บาดเจ็บ

ปัจจุบันเทคโนโลยีของอุปกรณ์และอินเตอร์เน็ตเน็ตเวิร์ค การเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน รวมถึงการให้บริการแอพพลิเคชั่นต่างๆมีการให้ข้อมูลด้านการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมการขายทำให้ผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดคือผู้ใช้นั่นเอง สิ่งที่ยังขาดคือ การเผยแพร่วิธีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้หรือวิธีใช้นั่นเอง

Garmin Instinct Smartwarch
Photo by Gerardo Ramirez / Unsplash

สังคมนักออกกำลังกายในปัจจุบัน(ปี 2558 - Editor Note) 70% มีอุปกรณ์ GPS และแทบจะมากถึง 95% มีสมาร์ทโฟน  เรียกว่าการสื่อสารระหว่าง คน อุปกรณ์ ผ่านสมาร์ทโฟน ไปยังค่ายที่ใช้บริการค่อนข้างสะดวก ได้ผลการฝึกซ้อม จากเวปผู้ให้บริการโดยตรงอย่างรวดเร็วซ้ำยังมีการ แชร์ข้อมูล ระหว่างแอพ ข้ามกันไปมา ด้วยการตลาดทะเลสีคราม พันธมิตรการค้าไปด้วยกันพฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไป มีแนวโน้มด้านสังคมโชเชี่ยลที่เด่นชัดขึ้นการได้แชร์กิจกรรมส่วนตัว ด้วยเหตุผลแต่ละคน อย่างกว้างขวาง

การฝึกซ้อมด้วยอุปกรณ์ GPS ในการซ้อมวิ่ง จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์นักวิ่งออฟฟิศรุ่นใหม่ๆ รวมถึงรุ่นเก่าที่มีการปรับตัวให้เข้ากับยุคความคิดเห็นต่างๆที่ได้นำเสนอออกไป มิได้หมายถึง ความบ้าบิ่น โอหังดูแคลนการฝึกซ้อมเดิมๆ เป็นเพียงแค่ การเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพของผู้อ่าน

ความรู้ถ่ายทอดต่อๆกันมา

และที่แน่ๆ ข้อมูลการค้นคว้าเรื่องการวิ่งที่มีมากมายบนโลกไซเบอร์ในยุคที่ผ่านมา จากเหล่ากูรูวงการวิ่ง อ.เบญ, อ.กฤตย์, อ.เปา ที่ได้นำเสนอไว้มากมาย แต่ยังขาดจุดเชื่อมต่อสู่ตัวนักวิ่งที่เหมาะสมจวบจนถึงยุคโชเชี่ยลสามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากอย่างเห็นได้ชัด

จึงหวังว่า จะเป็นส่วนหนึ่งของผลิตผลในวงการวิ่งที่เป็นทางเลือกหนึ่งในวิธีการฝึกซ้อม ด้วยกลุ่มคนที่กล้าเปลี่ยนแปลงทดลองด้วยตนเอง แนวทางนี้จะเป็นของจริงหรือไม่ ใช่หรือไม่ใช่การเวลาจะเป็นตัวพิสูจน์หนทางแห่งผลงาน การฝึกซ้อมของนักวิ่งยังต้องใช้เวลาอีกนานเพื่อพิสูจน์ผลแค่ ฐานความทนทานเบื้องต้น จนถึง VO2max ต้องใช้เวลาถึงปีครึ่งถึงสองปีส่วนระยะเวลาภายในหนึ่งปีถึงปีครึ่ง สามารถเหวี่ยงให้นักวิ่งสัมผัส VO2maxได้บ้าง แต่นั่นไม่ใช่ความทนทานของจริง เป็นแค่ผิวๆ ของมันครับ

Running in an airport
Photo by Andy Beales / Unsplash

ตารางซ้อมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

ส่วนคำว่า ซ้อมในรูปแบบนี้ นักวิ่งสามารถออกแบบตารางซ้อมเองได้เป็นคำกล่าวที่จริง แค่ศึกษาหลังของ HR ให้เข้าใจ นักวิ่งเองสามารถโม ตารางซ้อมให้เข้ากับตัวได้โดยไม่มีความผิด เช่นตารางบอกว่า วันรุ่งขึ้นต้องซ้อม interval ชนิดนึง แต่ค่าหัวใจตื่นนอนในวันนั้นเกินค่ามาตราฐานไป 5 หน่วยดังนั้น การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตารางซ้อม ทำได้ทันที โดยไม่ต้องรอคำสั่งตารางที่จะเลือกซ้อม มีหยุดพัก หรือ Recovery Easy Run เท่านั้นส่วนในรายระเอียดสามารถ ออกแบบรอบขา Cadence เป็นให้เข้ากับ HR เป็นต้น

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK