ค่า HRV ของ Polar H10 แม่นแค่ไหน ?

เปรียบเทียบค่าที่ได้จากอุปกรณ์วัดชีพจรแบบคาดอกจากค่าย Polar กับเครื่อง ECG ที่ใช้ในทางการแพทย์และงานวิจัย


ค่า HRV ของ Polar H10 แม่นแค่ไหน ?

ค่า Heart rate variability (HRV) นี่ช่วงหลังมีการนำมาใช้กันเยอะขึ้น ทั้งในการซ้อมและทางสุขภาพนะครับ อย่างไรก็ตามม ค่า HRV ก็ยังมีเครื่องหมายคำถามอยู่ ว่ามีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน และมันใช้การได้จริงจังรึเปล่า ซึ่งอันนั้นปล่อยมันไปก่อน งานนี้เขาทดสอบค่า HRV ที่ได้จาก Polar H10 ว่ามีความแม่นยำขนาดไหน

Polar H10 เป็น Heart Rate Monitor แบบคาดอก (chest strap) ในปัจจุบันหลายคนก็น่าจะไม่ใช้กันแล้วแหละ เพราะว่ามันไม่สะดวกนักที่ต้องมาคาดอกไว้ และพวกอุปกรณ์ที่เป็นนาฬิกาก็พัฒนาไปเยอะ แต่มันก็ยังแจ่มอยู่นะ ในแง่ของระยะเวลาการใช้งาน ความสามารถในการเชื่อมต่อต่างๆ อ่ะตรงนี้เอาไว้ก่อน เพราะไม่ได้จะมารีวิว 55

งานนี้เป็นการศึกษาของ Schaffarczyk และคณะ (2022) [1] เป็นการทดสอบข้อมูล HRV อย่างที่ว่าอ่ะนะครับ โดยเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จาก Electrocardiogram (ECG) ซึ่งเป็นตัวที่เราวางไว้แหละว่ามันเป็นค่ามาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างที่มาทดสอบอายุเฉลี่ยๆ 38 ปี มีทั้งชายหญิง สุขภาพดีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ความฟิตหรือประวัติการฝึกซ้อมไม่ได้กำหนด

การติดตั้ง Polar H10 และอุปกรณ์ ECG เพื่อวัดค่าต่างๆ

ศึกษายังไง ?

จากนั้นก็ให้ปั่นจักรยานวัดงาน แล้ววัดค่าเฉลี่ยระหว่างจังหวะการเต้นหัวใจ (RR) , อัตราการเต้นหัวใจหรือชีพจร (HR) และค่า Detrended Fluctuation Analysis (DFA)  เปรียบเทียบกันระหว่างสองอุปกรณ์ที่ว่า จากนั้นก็นำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ทางสถิติ

ผลที่ได้คือ ?

ผลที่ได้คือ ค่าที่ได้จาก Polar H10 นี่ค่อนข้างใกล้เคียงกับค่า HR, RR ที่ได้จากเครื่อง ECG นะครับ แต่ค่า DFA a1 เนี่ย ถ้าในช่วงออกกำลังกายที่มี intensity สูง มันดูคลาดเคลื่อนมากกว่า intensity ต่ำถึงกลาง ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้อยู่นะครับ ในการนำมาใช้งานการฝึกซ้อม การออกกำลังกาย หรือสุขภาพโดยทั่วไปก็ไม่น่ามีปัญหาแหละ

ค่าความถดถอย HR RR ไม่ค่อยต่างกันนะครับ
ดูรวมๆก็ใกล้เคียงกันอยู่

สรุป

สำหรับการศึกษาของงานนี้ มันก็มีประโยชน์ตรงที่เป็นหลักฐานนึงว่าถ้าจะทำวิจัยแล้วใช้เครื่องนี้เก็บข้อมูลดังกล่าว มันก็มีค่าความคลาดเคลื่อนประมาณนี้ เราจะนำไปใช้หรือไม่ใช้อันนั้นก็ลองพิจารณาดูกันเอาจากงานของเราครับ ถ้ามองในแง่ความสะดวก ก็สะดวกกว่าใช้ ECG แน่ๆล่ะ ^^) แถมราคาก็แค่ 3-4 พันเอง

อ้างอิง

  1. Schaffarczyk M, Rogers B, Reer R, Gronwald T. Validity of the Polar H10 Sensor for Heart Rate Variability Analysis during Resting State and Incremental Exercise in Recreational Men and Women. Sensors. 2022; 22(17):6536. https://doi.org/10.3390/s22176536

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK