งานนี้การศึกษาของ Lee และคณะ (2022) [1] เขาศึกษาเป็น Systematic Review และ Meta-analysis นะครับ แต่ว่าต้องบอกก่อนตั้งแต่ต้นๆเลย ว่างานที่เขาศึกษา เป็น Prospective Cohort ดังนั้นระดับของหลักฐานก็ถือว่าค่อนข้างอ่อน

งานที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้สารทดแทนความหวาน ทั้งแบบไม่มีแคล และแคลต่ำ มาแทนการใช้น้ำตาลปกติเนี่ย ก็มีศึกษากันมาเยอะนะครับ ผลมันก็มีอยู่หลากหลาย ดังนั้นครั้งนี้เขาเลยศึกษาเป็น SR และ MA เพื่อที่จะดูว่าพอเอาข้อมูลมาดูเป็นภาพใหญ่ขึ้นมาแล้ว หลักฐานต่างๆมันเป็นยังไงบ้าง
ศึกษายังไง
เขาก็คัดงาน Prospective Cohort ที่ศึกษาในกลุ่มผู้ใหญ่อายุมากกว่า 19 ปี และศึกษานานอย่างน้อย 1 ปี ทั้งแบบที่ทานแบบ 0 cal และแบบ cal ต่ำ เพื่อทดแทนน้ำตาลปกตินะครับ ส่วนผลที่ดูเนี่ย ก็ดูงานที่มันมีข้อมูลเกี่ยวกับความอ้วนต่างๆ ค่าที่เกี่ยวกับภาวะ Metabolic syndrome T2D, CVD , CHD และการเสียชีวิต ทั้งจากคนที่สุขภาพดีปกติ และมีภาวะต่างๆ

ผลที่ได้คือ ?
สุดท้ายก็ได้ข้อมูลมาจากงานจำนวนทั้งสิ้น 14 งาน เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่อ และผลที่เขาพบก็คือ การใช้พวกสารทดแทนความหวาน เพื่อแทนน้ำตาลเนี่ย มันก็ส่งผลดีในการลดน้ำตาล (โว๊ะ มันก็แน่อยู่แล้วป่ะวะ ๕๕) ส่วนพวกความเสี่ยงต่างๆ ก็มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลง เมื่อเปลี่ยนจากน้ำตาล มาเป็นพวกทดแทนความหวาน ทั้ง 0cal และ แคลต่ำ

ซึ่งก่อนหน้านี้ผมก็เคยนำเสนองานวิจัยบางงาน ที่เขาศึกษาเป็น Network Analysis ไว้ว่า สารทดแทนความหวาน หรือน้ำตาลเทียม ดีต่อการลดน้ำหนักมั้ย ? ก็พบว่าการใช้สารทดแทนความหวาน หรือน้ำตาลเทียมนั้นให้ผลดีต่อการลดน้ำหนักนะครับ [2]
สรุป
การใช้สารทดแทนความหวานพวกนี้ ไม่สัมพันธ์กับการทำให้น้ำหนักขึ้น หรือมีผลข้างเคียงที่เกี่ยวกับ Cardiometabolic เขาว่าการใช้พวกนี้เพื่อแทนน้ำตาล ก็เป็นแนวทางนึงที่มีประโยชน์อยู่ (เอาง่ายๆนะครับ คือถ้าไม่ใช้พวกนี้ แล้วไปกินน้ำตาลปกติๆ ยังไงแม่งก็เสี่ยงกว่า)
และทุกๆครั้ง เวลาเราพูดถึงพวกสารทดแทนความหวาน น้ำตาลเทียม โค้กซีโร่ บลาบลาบลา จะต้องมีคนนำเรื่องอินซูลินมาพูดว่าสารทดแทนความหวานมันกระตุ้นอินซูลิน แต่การศึกษาในมนุษย์จริงๆแล้วหลายงาน พบว่าน้ำตาลเทียมไม่ได้มีผลต่อการกระตุ้นอินซูลินนะครับ ซึ่งผมก็เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว [3]
ทานได้แต่อย่าเยอะ
ทั้งนี้ในงานนี้ก็อย่างที่บอกว่ามันเป็นการศึกษาจากหลักฐานที่ก็ไม่ได้แข็งแรงมาก เหมือนพวกงาน RCT ในทางปฎิบัติผมมองว่ามันเสี่ยงลดลงแหละ เมื่อเทียบกับการใช้น้ำตาล แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนให้ทานเยอะ โบกเป็นบ้าเป็นหลังนะครับ อีกอย่าง พวกน้ำอัดลม 0cal คือมันไม่มีความเสี่ยงต่อเรื่องอ้วน น้ำหนัก อะไรงี้ก็จริง แต่เราก็ไม่รู้ว่ามันยังมีประเด็นต่อโรคภัยไข้เจ็บอื่นมั้ย อันนี้ก็ต้องศึกษาผลให้รอบด้าน
แม้ว่าสารทดแทนความหวานจะไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการติดหวานเพิ่มขึ้น [4] แต่การทานทุกวันวันละ 2-3 ลิตร ต่อให้มันไม่อ้วน ผมก็ว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าวางใจเท่าไหร่ เบาได้เบาาาา
อ้างอิง
- Jennifer J. Lee, Tauseef A. Khan, Nema McGlynn, Vasanti S. Malik, James O. Hill, Lawrence A. Leiter, Per Bendix Jeppesen, Dario Rahelić, Hana Kahleová, Jordi Salas-Salvadó, Cyril W.C. Kendall, John L. Sievenpiper; Relation of Change or Substitution of Low- and No-Calorie Sweetened Beverages With Cardiometabolic Outcomes: A Systematic Review and Meta-analysis of Prospective Cohort Studies. Diabetes Care 1 August 2022; 45 (8): 1917–1930. https://doi.org/10.2337/dc21-2130
- บัวเพ็ชร, พงศ์พันธ์. (2022b, May 16). สารทดแทนความหวาน เครื่องดื่ม 0cal ทั้งหลาย ดีต่อการลดน้ำหนัก การลดความอ้วนรึเปล่า ? Fat Fighting. Retrieved August 4, 2022, from https://www.fatfighting.net/article-2022-05-16-sweet-news-about-low-and-zero-calorie-beverages/
- บัวเพ็ชร, พงศ์พันธ์. (2022b, January 30). สารทดแทนความหวาน กระตุ้นอินซูลิน จริงรึเปล่า ? Fat Fighting. Retrieved August 4, 2022, from https://www.fatfighting.net/article-2022-01-30-artificial-sweeteners-and-insulin/
- Wilk K, Korytek W, Pelczyńska M, Moszak M, Bogdański P. The Effect of Artificial Sweeteners Use on Sweet Taste Perception and Weight Loss Efficacy: A Review. Nutrients. 2022; 14(6):1261. https://doi.org/10.3390/nu14061261