ไม่สบายต้องนอนพัก หยุดออกกำลังกาย 5 วัน จะเป็นอะไรมั้ย

จำเป็นต้องหยุดออกกำลังกาย เป็นเวลาสั้นๆ มีผลอะไรต่อกล้ามเนื้อมั้ย งานนี้เขาวิจัยในระดับการทำงานของไมโตคอนเดรียในเซลล์ ลองมาดูผลกันครับ


ไม่สบายต้องนอนพัก หยุดออกกำลังกาย 5 วัน จะเป็นอะไรมั้ย

ก็เป็นสิ่งที่หลายคนที่ออกกำลังกายประจำๆ อาจจะมีกังวลกันอยู่บ้างนะครับ เวลาที่มีเหตุให้ออกกำลังกายไม่ได้ ว่ามันจะส่งผลอะไรบ้าง งานนี้เขาก็ศึกษาว่าถ้าเราต้องนอนพักรักษาตัว (Bed rest ,BR) หรือพักฟื้นจากการออกกำลังกายระยะสั้นๆ มีผลยังไงกับไมโตรคอนเดรียในกล้ามเนื้อบ้าง เป็นการศึกษาของ Marshall และคณะ (2022) นะครับ [1]

Marshall และคณะ (2022)

กลุ่มตัวอย่างคือใคร ?

งานนี้เขาให้ผู้ชายสูงอายุสุขภาพดี  ไม่อ้วน ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อน้อย จำนวน 10 คน อายุเฉลี่ย 71.5 ปีมาเป็นกลุ่มทดลอง เป็นคนที่ไม่เคยทำการฝึก Resistance Exercise Training มาก่อนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

Photo by Bahram Bayat / Unsplash

วิจัยยังไง ?

วิธีการทดลอง วันแรกเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อด้วย Muscle biopsy และวัด Body composition ด้วย BIA ก่อน จากนั้นวันถัดมา ก็ให้แต่ละคนมาทำการฝึกกล้ามเนื้อขา โดยใช้ขาข้างที่ถนัด วอร์มที่ 50%1RM สองเซ็ท แล้วก็ฝึกที่ 75%RM อีก 6 เซ็ท ด้วยท่า Leg extension และ Leg curl แต่ละเซ็ททำ 12 rep แล้วก็พักวันเว้นวัน

หลังจากฝึกไป 4 รอบ จากนั้นวันที่ 8 ก็เก็บตัวอย่างชิ้นกล้ามเนื้ออีกที แล้วก็ให้ทำการจำลองการเข้าพักรักษาตัว 5 วัน เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ ระหว่างทดลองก็มีเก็บตัวอย่างเลือดและตัวอย่างชิ้นเนื้อย่อยๆอีกหลายครั้ง เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลนะครับ

รูปแบบขั้นตอนการทำวิจัยในงานนี้นะครับ

สิ่งที่เขาต้องการดูผลก็คือ  Citrate synthase enzyme , mitochondrial dynamics , mitochondrial biogenesis และ mitophagy ซึ่งในงานวิจัยอื่นๆ ที่ทดสอบการที่หยุดใช้งานกล้ามเนื้อ พบว่ามันมีการเผาผลาญระดับเซลล์ของเจ้าไมโตคอนเดรียที่ผิดปกติออกไป แต่ว่างานต่างๆเหล่านั้นระยะเวลาพัก BR คือ 7-14 วัน [2] ซึ่งต่างจากงานนี้ที่เป็นระยะเวลาแค่ 5 วัน

ผลที่พบคือ ?

ผลที่เขาพบซึ่งทำในกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ไม่มีอะไรที่แตกต่างไปในช่วงระยะเวลา BR 5 วันดังกล่าว ทั้งในแง่กิจกรรมของเอนไซม์และการแสดงออกของโปรตีน ที่เป็นตัวควบคุมปริมาณ , dynamics , biogenesis และ mitophagy นอกจากนั้นการฝึก 7 วันก่อนหน้า BR ก็ไม่ได้ส่งผลอะไรด้วย

อย่างไรก็ตามนั่นคือผลในกลุ่มผู้สูงอายุ และระยะเวลาพักเพียง 5 วันนะครับ ในกลุ่มของเด็กๆ ผู้ใหญ่ หรือการพักที่นานกว่านั้นจากงานวิจัยอื่นๆ [3] พบว่ามีผลต่างให้เห็นที่มากกว่างานนี้ เพราะว่าในกลุ่มผู้สูงอายุเนี่ย ไม่ว่าจะเป็นการไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ หรือการฝึกกล้ามเนื้อ มีอัตราการสังเคราะห์ที่มันเกิดขึ้นช้ากว่า เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่หรือกลุ่มที่อายุน้อยกว่า [4]

ส่วนที่ว่าการฝึกก่อนหน้า เป็นเวลา 7 วันไม่ได้ส่งผลอะไร นั้นก็ต้องเข้าใจกันอีกนิดด้วยนะครับว่าระยะเวลามันสั้นไปกว่าที่จะเห็นผลอะไรได้ รวมถึง Intensity ของการฝึกก็อาจจะไม่ได้หนักมากจนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมอะไรกับไมโตคอนเดรียได้ แต่ด้วยความที่ Subject เป็นกลุ่มนี้ นั่นจะให้หนักมากเหมือนวัยรุ่นก็คงไม่ใช่

สรุป

โดยสรุป ผลที่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ (65-80) ที่สุขภาพดีการต้องหยุดพักออกกำลังกายไประยะเวลาสั้นๆ ก็ไม่ได้เกิดต่างอะไรกับเจ้าไมโตรคอนเดรียนักนะครับ แต่ถ้าเป็นในกลุ่มที่สุขภาพมีปัญหา มีภาวะกล้ามเนื้อน้อย เบาหวาน หรืออื่นๆ ผลอาจจะไม่เหมือนกัน และเช่นกัน ในกลุ่มคนช่วงวัยอื่น ก็อาจจะให้ผลที่แตกต่างกันออกไปอีก

ตรงนี้เมื่อนำไปดูกับอีกหลายๆงานที่เคยศึกษาไว้ ก็แนะนำว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อเขาถดถอยลงไปเรื่อยๆ การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นและรักษากล้ามเนื้อของเขาไว้ได้มากกว่า ไม่ได้ออก แต่ถ้ามีเหตุให้จำเป็นต้องพักเป็นระยะเวลาสั้นๆ ข้อมูลจากงานนี้ ก็น่าจะทำให้เราสบายใจได้อย่างนึง ว่ามันไม่ได้มีผลเสียอะไรเร็วขนาดนั้นนะครับ

แต่ถ้าระยะเวลานานกว่านั้น อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า มันจะเริ่มพบว่าให้ผลที่แตกต่างกันออกไปแล้ว ก็ลองนำไปปรับใช้กับการดูแลตัวเอง และดูแลคนที่เราห่วงใยกันดูนะครับ

อ้างอิง

  1. Marshall, R. N., Smeuninx, B., Seabright, A. P., Morgan, P. T.,
    Atherton, P. J., Philp, A., & Breen, L. (2022). No effect of five days of bed rest or short-term resistance exercise prehabilitation on markers of skeletal muscle mitochondrial content and dynamics in older adults. Physiological Reports, 10,
    e15345. https://doi.org/10.14814/phy2.15345
  2. Standley, R. A., Distefano, G., Trevino, M. B., Chen, E., Narain, N. R., Greenwood, B., Kondakci, G., Tolstikov, V. V., Kiebish, M. A., Yu, G., Qi, F., Kelly, D. P., Vega, R. B., Coen, P. M., & Goodpaster, B. H. (2020). Skeletal Muscle Energetics and Mitochondrial Function Are Impaired Following 10 Days of Bed Rest in Older Adults. The journals of gerontology. Series A, Biological sciences and medical sciences, 75(9), 1744–1753. https://doi.org/10.1093/gerona/glaa001
  3. McGlory, C., Gorissen, S., Kamal, M., Bahniwal, R., Hector, A. J., Baker, S. K., Chabowski, A., & Phillips, S. M. (2019). Omega-3 fatty acid supplementation attenuates skeletal muscle disuse atrophy during two weeks of unilateral leg immobilization in healthy young women. FASEB journal : official publication of the Federation of American Societies for Experimental Biology, 33(3), 4586–4597. https://doi.org/10.1096/fj.201801857RRR
  4. Suetta, C., Hvid, L. G., Justesen, L., Christensen, U., Neergaard, K., Simonsen, L., Ortenblad, N., Magnusson, S. P., Kjaer, M., & Aagaard, P. (2009). Effects of aging on human skeletal muscle after immobilization and retraining. Journal of applied physiology (Bethesda, Md. : 1985), 107(4), 1172–1180. https://doi.org/10.1152/japplphysiol.00290.2009

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK