อาหารเสริมที่ดีต่อคนเป็นเบาหวาน ...

อาหารเสริมอะไรให้ผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน ที่กำลังรักษาตัวอยู่บ้าง มาดูผลการศึกษาจากงานวิจัยกันครับ


อาหารเสริมที่ดีต่อคนเป็นเบาหวาน ...

Top 5 งานวิจัยที่น่าสนใจจาก Examine ประจำเดือน พค. 5/5

Woman holding probiotic capsule in her hand next to brand bottle over wooden counter.
Photo by Daily Nouri / Unsplash

งานนี้เป็น Meta-analysis ที่ศึกษาว่าพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งหลายเนี่ย เมื่อทานร่วมกับการทานยาบรรเทาภาวะเบาหวานประเภท 2 แล้วให้ผลเป็นยังไง โดยเขาศึกษาจากพวกงานที่เป็น RCT (Randomized controlled trials) จำนวน 119 งานมาอีกทีนึง

พวกสารอาหารที่เขานำมาศึกษาว่าทานร่วมไปกับ การรักษาภาวะเบาหวานก็มีดังนี้นะครับ

  • Vitamin D (29 งาน, 400–6,000 IU/วัน)
  • Omega-3 fatty acids (26 งาน, 1–12 g/วัน)
  • Vitamin E (21 งาน, 200–1,600 IU/วัน)
  • Chromium (16 งาน, 200–1,000 - mg/วัน)
  • Vitamin C (12 งาน, 200–1,000 mg/วัน)
  • Coenzyme Q10 (CoQ10; 11 งาน, 150–200 - mg/วัน)
  • Zinc (5 งาน, 30–240 mg/วัน)
  • Alpha-lipoic acid (3 งาน, 300–800 mg/วัน)
  • Selenium (2 งาน, 200 mg/วัน)

เห็นรายการอาหารเสริมเป็นตับแบบนี้ ไม่ใช่เค้าทดลองทีเดียวนะ หมายถึงว่า มีงานที่ทดลองตัวไหนจำนวนกี่งาน แล้วก็ทานปริมาณโดสเท่าไหร่นะเว้ย ไม่ใช่อ่านแล้วไปหวดหมดนะครับ ๕๕ ส่วนผลที่เขาศึกษาก็ดูผลของ ระดับน้ำตาล (Fasting blood glucose) , น้ำตาลสะสม (HbA1c) และความดื้อต่ออินซูลิน (HOMA-IR)

ผลที่ได้ก็คือ......

  • Chromium ลด HbA1c ได้เฉลี่ย 0.39% น้ำตาลฟาสติ้ง -16.3mg/dL ลดการดื้ออินซูลิน -2.48 โดยกลุ่มที่ได้ผลดีจากการทานอาหารเสริมโครเมียมเนี่ย เป็นกลุ่มที่น้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 8% และ Chromium picolinate เป็นตัวที่ให้ผลดีที่สุด (ที่ขายๆกันมันมีหลาย Chromium นะ ไปซื้อก็เล็งดีๆ โครเมียมชุบเหล็กในโรงกลึงไม่เอานะ ๕๕)
    ตัวอื่นๆ
  • Vitamin C ลด HbA1c ได้เฉลี่ย 0.37% ลดน้ำตาลฟาสติ้งได้ -11.96mg/dLCoQ10 ลด HbA1c ได้เฉลี่ย 0.23% ลดน้ำตาลฟาสติ้งได้ -8.84mg/dL
  • V-tamin E ลด HbA1c ได้เฉลี่ย 0.23% ลดการดื้ออินซูลินได้ 0.37กรดไขมัน omega-3 ลด HbA1c ได้เฉลี่ย 0.26%

ทั้งนี้เวลาอ่านผลพวกนี้ไม่ใช่ว่าเราทานแล้วจะได้ผลตามนี้เป๊ะนะ ในงานวิจัยถ้าเราอ่านรายละเอียดทั้งหมด เราก็จะพบว่ามันยังมีความแตกต่างอยู่อีกเยอะ แต่พวกข้อสรุปก็พอให้เห็นเป็นแนวทางได้ว่าในกลุ่มประชากรที่เขาศึกษามาเนี่ย คนจำนวนมากให้ผลประมาณไหน ส่วนไอ้เราจะได้ผลตามคนจำนวนมากของเขา หรือเราเป็นชนกลุ่มน้อย กินแล้วไม่ได้ผลอะไรเลย ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง

อย่างเช่น กินอาหารเสริมแม่งทุกอย่าง แล้วก็กินยับแดกพัง วันๆไม่คิดจะออกกำลังกายห่าอะไรเลย นี่อาหารสวรรค์ยาวิมานอะไรก็ไม่น่าช่วยแล้วล่ะ ขอให้โชคดีย์

ปล.งาน Top 5 Examine เป็นงานที่ทางเว็บ Examine ซึ่งเป็นเว็บที่เกี่ยวกับอาหารและอาหารเสริมชื่อดังเว็บนึง (คนไทยก็อิงข้อมูลจากที่นี่กันหลายเพจ) เขาเลือกมาว่าเด่นในแต่ละเดือนนะครับ ใครสนใจงานวิจัยด้าน สุขภาพ โภชนาการ อาหาร และการออกกำลังกาย อัพเดตๆ ติดตามผมได้ในทวิตเตอร์ @fatfightingclub

อ้างอิง

Kim Y, Oh YK, Lee J, Kim E. Could nutrient supplements provide additional glycemic control in diabetes management? A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials of as an add-on nutritional supplementation therapy. Arch Pharm Res. 2022 Mar;45(3):185-204. doi: https://doi.org/10.1007/s12272-022-01374-6.  Epub 2022 Mar 18. PMID: 35304727.

GO TOP

🎉 You've successfully subscribed to Fat Fighting!
OK